แนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

นิภาวรรณ์ ลุนละวงษ์
พนายุทธ เชยบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวังและความต้องการจำเป็นในการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู และ 2) หาแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี การวิจัยดำเนินการ 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวังและความต้องการจำเป็นในการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ครู จำนวน 364 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.920 และแบบสอบถามสภาพที่คาดหวัง เท่ากับ 0.953 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น และระยะที่ 2 หาแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพปัจจุบันของความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี อยู่ในระดับน้อย สภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการจำเป็น ลำดับแรกคือ ด้านพฤติกรรม รองลงมาคือ ด้านจิตใจ และด้านความศรัทธา อยู่ในลำดับสุดท้าย 2) แนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี มี 29 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านความศรัทธา จำนวน 5 แนวทาง 2) ด้านความทุ่มเท จำนวน 5 แนวทาง 3) ด้านความจงรักภักดี จำนวน 3 แนวทาง 4) ด้านพฤติกรรม จำนวน 5 แนวทาง 5) ด้านจิตใจ จำนวน 3 แนวทาง 6) ด้านการคงอยู่ จำนวน 4 แนวทาง และ 7) ด้านบรรทัดฐาน จำนวน 4 แนวทาง โดยทุกแนวทางมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้านทุกแนวทาง

Article Details

บท
Research Articles

References

กัณฐิกา สุระโคตร. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนขนาดกลางในอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์การยุคใหม่ (Organizational Leadership). กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

ชุติกาญจน์ เปาทุย. (2553). ระดับความสุขในการทำงานของพยาบาล: กรณีศึกษาพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณิชานันทน์ ศิริกุลสถิตย์. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 4,3(กันยายน-ธันวาคม): 557-568.

ธีรภัทร กุโลภาส. (2556). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่แท้จริงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยมีการมองโลกเชิงบวกทางวิชาการและความยึดมั่นผูกพันของครูเป็นตัวแปรส่งผ่านและขนาดโรงเรียนเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยแบบผสมวิธี. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเจือ จุฑาพรรณชาติ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา บรรยากาศองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ภัค วรธนเตชินท์. (2565). รูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครูสำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ และคณะ. (2556). การพัฒนาโมเดลความผูกพันของพนักงานต่อองค์การของพนักงาน ในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 19(2), 77-93.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2565). ประเทศไทย 4.0 ในบริบทของการพัฒนาทุนมนุษย์. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 27 กันยายน). จากhttps://www.youtube.com/

watch?v=jWWWfl7W52k.

อรฉัตร สรญาณธนาวุฒิ. (2545). ความผูกพันต่อองค์กรไม่หวังผลกำไรของพนักงาน: กรณีศึกษาสถาบันคีนันแห่งเอเชีย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อาบชื่น น้อยคล้าย. (2546). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ส่วนกลาง). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อาริญา เฮงทวีทรัพย์สิริ. (2558). ความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bakker, A. B., Oerlemans, W. G. M. and Ten, B, L. (2013). Becoming fully engaged in the workplace: What individuals and organizations can do to foster work engagement. Surrey, UK: Gower.

Guskey, T. R. (2000). Evaluating professional development. California: Corwin Press.

Mowday, R., Steers, R. & Porter, L. W. (1982). Employee - organization linkages (The psychology of commitment, absenteeism, and turnover). New York: Academic Press.

Steers, R.M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1977): 46-56.