รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

สายฝน สวัสเอื้อ
ไชยา ภาวะบุตร
ธวัชชัย ไพใหล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดประถมศึกษาเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ R&D กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 344 คน กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก มี 4 องค์ประกอบและมีความต้องการจำเป็น ดังนี้ การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม การมีวิสัยทัศน์ สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการเป็นผู้นำทางวิชาการ 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก มี 5 ส่วน คือ หลักการ วัตถุประสงค์เนื้อหา กระบวนการพัฒนา และการประเมินผล 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดประถมศึกษาเล็ก หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา

Article Details

บท
Research Articles

References

จิรายุ ศรีสง่าชัย. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร

สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไชยา ภาวะบุตร. (2565). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3,

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฎสกลนคร.

ทัพพุ์นิธิศ ปิ่นภัคพูลลดา. (2561). “กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ

ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา

เขต 6,” วารสารรมยสาร, 16(3),209-226.

นุช สัทธาฉัตรมงคล.(2559).“ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 167-182.

นัฐวุฒิ กุศลคุ้ม. (2565). “ข้อเสนอแนะเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1,” วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์, 9(1), 138-150.

ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2561). “ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา

0,” วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2),

-2013.

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2565). การบริหารองค์การทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. สาขาการบริหาร

การศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภคพร เลิกนอก. (2563). “การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4,” วารสารบัณฑิต

ศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(2), 150-166.

ภิชาพัชญ์ โหนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศ

ไทย 4.0. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21,” วารสาร

วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 7-11.

สายทอง ไตรยะวิภาค. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สาริศา เจนเขว้า และเสวียน เจนเขว้า. (2560). “การเป็นนักบริหารมืออาชีพในยุคไทยแลนด์

0,” วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(3), 267-276.

สิรินาถ ปัทมาวิไล. (2562). “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร

สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21,” วารสารอัล-ฮิกมะฮฺมหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(17).

-103.

สุกัญญา รอดระกำ. (2561). “บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0,”

การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ GRADUATE SCHOOL

CONFERENCE 2018, 575-579.

สุคนธ์ เฮ็งสันเทียะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนิสา คงสุวรรณ. (2560). การพัฒนาแบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

บัณฑิตวิทยาลัย :: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่

บัณฑิตวิทยาลัย :: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

(พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เพรส จำกัด.

อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล. (2559). “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง: เปลี่ยนความท้าทายมุ่งสู่

ความสำเร็จขององค์การอย่างยั่งยืน,”วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และ

ศิลปะ, 9(1), 845-858.

อัมพร พินะสา. (2561, 13 สิงหาคม). การเปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยในอดีตสู่ทิศทางการ

บริหารจัดการทางการศึกษายุค 4.0 อย่างยั่งยืน. www.dsdw.go.th

Brophy, G.M. (2006). A Study of the Process Used by Academic Affairs

Administrators at Participating Institutions of Higher Education to Select

Instructional Technology Tools for Faculty Use in Instructional in

Undergraduate Classes, Dissertation Abstracts International.24 (2),171A.