“แล”รูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

พระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม (กุลมณี)
รังสรรค์ วัฒนาชัยวณิช
ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์
พระครูสุตกิจสโมสร (โกตัน)

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง “แล” รูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี     ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษารูปแบบการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี พบว่า เป็นรูปแบบเชิงข้อความ (Semantic Model) ที่ใช้ภาษาเป็นสื่อในการบรรยาย หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษา เพื่อให้เห็นมโนทัศน์ โครงสร้างทางความคิด อธิบายให้เห็นถึงองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า (2) กระบวนการ (3) ผลผลิต และ (4) ข้อมูลย้อนกลับ พัฒนาโดยการศึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรม การสังเกตุพฤติกรรม การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประกวดผลงาน เพื่อให้ได้สาระครอบคลุมครบถ้วนตามความต้องการอย่างแท้จริงของการพัฒนารูปแบบ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนในการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี 2) การผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี พบว่า เยาวชนสามารถผลิตสื่อสร้างออกมาได้พอประมาณ แต่ยังขาดรายละเอียดในบางส่วน เช่น การเรียงลำดับเรื่องราวของสื่อที่ผลิตยังไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากมีคอนเทนต์หลายอย่างในเรื่องเดียว อีกทั้งยังตัดต่อภาพและเสียงไม่ค่อยทัน เนื่องจากมีเวลาจำกัดในการตัดต่อ เพียงแค่ 6 ชั่วโมง จึงต้องขยายระยะเวลาในการส่งคลิปออกไปอีก 3-4 ชั่วโมง แต่ถึงกระนั้นจากการสอบถามเยาวชนผู้เข้ารับการอบรมในครั้ง พบว่า เยาวชนมีความสนุกสนาน กับกิจกรรมโครงการในครั้งนี้ และอยากให้มีการจัดกิจกรรมในรูปแบบนี้อีก แต่ให้เพิ่มระยะเวลาเป็น 3 คืน 4 วัน เพื่อให้คลิปที่สร้างสรรค์ออกมาสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ ผลตอบรับจากชุมชนดีมาก ชุมชนให้ความร่วมมือตลอดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมและยังเป็นการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของเยาวชนไปสู่โลกภายนอกอีกด้วย 3) การสร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดในจังหวัดปัตตานี พบว่า กระบวนการสร้างเครือข่ายของเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปัตตานี มีปัญหาในเรื่องของการขาดกิจกรรมนันทนาการเพื่อกระชับความสัมพันธ์ผู้เข้าอบรม ในส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ทางกลุ่มเยาวชนอยากให้มีกิจกรรมกลุ่ม กระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม ควรมีกิจกรรมนันทนาการสอดแทรก เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้สนุกยิ่งขึ้น เป็นต้น อีกทั้งคณะผู้วิจัยได้พัฒนาเพจ “แลดูเบิ่งผ่อ_เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์” (https://shorturl.asia/TMWre) ที่ใช้ในการเผยแพร่ผลงานของเหล่าเยาวชนในเครือข่ายของโครงการ “แลดูเบิ่งผ่อ” เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิด

Article Details

บท
Research Articles

References

เกศินี ประทุมสุวรรณ. (2559). เมืองสื่อสร้างสรรค์: ตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนาเยาวชน,

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 36(2) เมษายน - มิถุนายน.

ณทิตา ทรัพย์สินวิวัฒน์ และ รัตนางศ์ตุละวรรณ. (2561). การสร้างสรรค์สื่อเพื่อการเรียนรู้จาก

งานวิจัย. วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสารสังคม ปีที่ 6(1).

พระอักขราภิศุทธิ์ สิริวฑฺฒโน (ลูนละวัน). (2560). กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคม

ออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส

พับลิเคชั่นส์.

_______. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

_______. (2513). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:

กรมการศาสนา.

สื่อสร้างสรรค์. แหล่งที่มา https://sites.google.com/a/srv.ac.th/zether/sux-srangsrrkh

เสาวณีย์ ฉัตรแก้ว. (2557). สื่อสร้างสรรค์เท่าทันสื่อ กรณีศึกษาโครงการ Idea Idol เท่าทันสื่อ.

วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, ปีที่ 10(4) เมษายน – มิถุนายน.