“แลดูเบิ่งผ่อ”เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิด

Main Article Content

รังสรรค์ วัฒนาชัยวณิช
พระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม (กุลมณี)
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
อัครเดช พรหมกัลป์
ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง “แลดูเบิ่งผ่อ” เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงพุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อในรูปแบบของเทคโนโลยีนำเสนอต่าง ๆ เช่น คลิปวีดีโอ หนังสั้น ภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น เพื่อบอกเล่าถึง วิถีชีวิต ค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรทฤษฎีใหม่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกห้วยขาแข้ง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เพื่อร่วมกันถ่ายทอดเรื่องเล่าดังผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) จนนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดอย่างยั่งยืนนั้น ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนทักษะในการวางแผน ทักษะในการวางโครงเรี่อง ทักษะในการถ่ายทำ ทักษะในการตัดต่อ และทักษะในการนำเสนอ เพื่อจะให้ก่อให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างมุมมอง วิสัยทัศน์ ทัศนคติ การเสริมสร้างจิตสำนึก การเสริมสร้างจิตอาสา และการเสริมสร้างจิตสาธารณะให้กับเยาวชนคนในพื้น จึงทำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการพัฒนาในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาอาศัยความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน คณะสงฆ์ ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา รวมถึงตัวเด็กและเยาวชน โดยทุกภาคส่วนจะต้องมีความพร้อมเพรียง มีความสมัครสมานความสามัคคีกัน และผลักดันหรือสนับสนุนทั้งในเรื่องทุนและโอกาสเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กาญจนา เชี่ยววิทยการ. (2563). การรับและการส่งต่อเนื้อหารายการวิทยุของเยาวชนยุค 4.0. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปที่ 8(6) พฤศจิกายน-ธันวาคม.

กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน. (2559). การผลิตสื่อสร้างสรรค์วีดิทัศน์ “เรื่องปราสาทผึ้งโพนทราย”. ทุนอุดหนุนโครงการหนึ่งคณะหนึ่งศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกศสุดา สิทธิสันติกุล และคณะ. (2562). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่อย่างมีส่วนร่วม:

โครงการ Spark U เชียงใหม่ ปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. ปีที่ 11(2) กันยายน – ธันวาคม.

เกศินี ประทุมสุวรรณ. (2559). เมืองสื่อสร้างสรรค์: ตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนาเยาวชน.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 36(2) เมษายน – มิถุนายน.

ใกล้รุ่ง พูลผล และคณะ. (2561). กรอบนโยบายการจัดการแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้งอย่างยั่งยืน. วารสารเซนต์จอห์น. ปีที่ 21(29) กรกฎาคม-ธันวาคม.

จิณห์จุฑา ศุภมงคล และกมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2563). การพัฒนาพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน

โดยใช้สื่อตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 6(1) มกราคม – มิถุนายน.

จินตนา กสินันท์. (2560). สื่อสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชน กรณีศึกษา: คนปลายน้ำคลองท่าแนะจังหวัดพัทลุง. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. ปีที่ 35(2) พฤษภาคม – สิงหาคม.

ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ และประทีป พืชทองหลาง. (2561). การสื่อสารธรรมเพื่อการพัฒนา

สังคมเชิงสร้างสรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 6(ฉบับพิเศษ).

ณทิตา ทรัพย์สินวิวัฒน์ และ รัตนางศ์ตุละวรรณ. (2561). การสร้างสรรค์สื่อเพื่อการเรียนรู้จาก

งานวิจัย.วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสารสังคม ปีที่ 6(1).