การพัฒนากลุ่มผลิตการเกษตรตามาตรฐานกะสิกรรมสะอาด แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เทวา สีลาดวงใจ
ธรรมรักษ์ ละอองนวล
ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

             การพัฒนากลุ่มผลิตการเกษตรตามมาตรฐานกสิกรรมสะอาด แขวงสาละวัน  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรตามมาตรฐานกสิกรรมสะอาด แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรตามมาตรฐานกสิกรรมสะอาด แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Research) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ ตัวอย่าง จำนวน 186 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรตามมาตรฐานกสิกรรมสะอาด แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก รูปแบบการบริหารเข้าใจระบบการจัดสรรคืนเงินกำไรให้กับสมาชิก ด้านค่านิยมกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชน และภาครัฐจัดขึ้น ด้านกลยุทธ์มี การปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค ด้านโครงสร้างองค์กรมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน ด้านระบบการปฏิบัติงานมีการบันทึกรายงานการประชุมเป็นปัจจุบัน ด้านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกรมีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนภายนอก ด้านทักษะกรรมการบริหารมี การพัฒนาทักษะ ด้านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนภายนอก และด้านบุคลากร กรรมการความรู้ความสามารถ ปัญหา และอุปสรรคการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรตามมาตรฐานกะสิกรรมสะอาด แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไม่มีคนอยากเป็นเกษตรกร ทุนดำเนินงานมีน้อย สำนักงานขาดวัสดุอุปกรณ์ ขาดความรู้ในการบริหาร  แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรตามมาตรฐานกสิกรรมสะอาด แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กระบวนการผลิตเกษตรกรควรใช้กระบวนการผลิตที่พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากธรรมชาติเน้นการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการบำรุงพืช ควรจำหน่ายผ่านตลาดแขวงสาละวัน และงานแสดงสินค้าต้องได้รับรองมาตรฐานการผลิตกสิกรรมสะอาด ควรรวมกลุ่มของเกษตรกรที่มีทัศนคติที่ต้องการผลิตสินค้าเกษตรแบบปลอดภัย ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปสู่การเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และปลอดสารพิษ ระบบการคมนาคมสะดวกจะช่วยให้การกระจายสินค้ามีความรวดเร็ว ทันเวลา ภาครัฐควรกำหนดนโยบายส่งเสริม การเกษตรแบบปลอดสารพิษ อบรมความรู้ให้กับเกษตรกร การประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรในท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสในการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สํานักงาน. (2558). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์ม.

พรรคประชาชนปฏิวัติลาว. (2548). กองประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 ของพรรคประชาชนลาว วันที่ 18 มีนาคม 2548. เวียงจันทร์: โรงพิมพ์แห่งรัฐ.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

วัชรา ปลอดใหม่. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

สุรชัย กังวล. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการในการดำเนินงานของกลุ่มผู้ผลิตระบบการเกษตรแปลงใหญ่สู่ความยั่งยืนในเขตภาคเหนือตอนบน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.