การพัฒนาศักยภาพตำรวจตระเวนชายแดน: กรณีศึกษากองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 226 อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วิชิต ภโอวาท
ไพศาล พากเพียร
จิตรกร โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพตำรวจตระเวนชายแดน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพตำรวจตระเวนชายแดน: กรณีศึกษากองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 226 อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่าง จำนวน 214 คน กำหนดขนาดของตัวอย่างจากตารางของ Krejcie and Morgan ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพตำรวจตระเวนชายแดน: กรณีศึกษากองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 226  อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅= 3.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสวัสดิการ (X̅= 3.81) ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (X̅= 3.67) ด้านการฝึกอบรม และด้านการศึกษาต่อ (X̅= 3.36) และด้านการสื่อสาร (X̅= 3.26) ตามลำดับ


 แนวทางการพัฒนาศักยภาพตระเวนชายแดน: กรณีศึกษากองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 226 อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ด้านการศึกษาต่อ ควรส่งเสริมให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ด้านการฝึกอบรม ส่งเสริมฝึกทักษะเฉพาะของงานในแต่ละตำแหน่ง เป็นการกำหนดความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง ด้านสวัสดิการควรมีการเพิ่มสวัสดิการให้เพียงพอ อาทิ บ้านพัก เรียนฟรี รักษาพยาบาล ด้านการสื่อสาร ควรส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาศักยภาพการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งระบบอินเตอร์เน็ต ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานหรือเลื่อนตำแหน่ง โดยใช้การสอบรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถของบุคคลที่มีคุณสมบัติครบตามที่ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นตัวกำหนดตำแหน่ง

Article Details

บท
Research Articles

References

ฉัตรชัย ทรงประโคน. (2553). ความต้องการพัฒนาตนเองของกำลังพลกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 216 อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2538). จิตวิทยาการฝึกอบรมบุคลากร. เชียงใหม่: ภาควิชาจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เชาว์ โรจนแสง. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนตรชนก ดวนใหญ่. (2562). การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในศาลอาญา ยุคดิจิทัล ประจำปี 2562. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพลิน จามจุรี. (2564). การพัฒนาศักยภาพตำรวจตระเวนชายแดนบนพื้นฐานความมั่นคงของประเทศ: ศึกษากรณีกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 424 อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตรา ธนานันท์. (2552). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสน ศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2557). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตามแนวพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.