การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในเขตเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

วิสมพัน จันทะพูทอน
วิชัย ลุนสอน
ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

          การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในเขตเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับบริการจากธุรกิจร้านอาหารในเขตเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในเขตเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตัวอย่าง จำนวน 155 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 คน ผู้ประกอบการร้านอาหารในเขตเมืองสาละวัน จำนวน 12 คน สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการเลือกรับบริการจากธุรกิจร้านอาหารในเขตเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการนำเสนอทางกายภาพมีการดูแลความสะอาดบริเวณร้าน ปัจจัยด้านกระบวนการคือความรวดเร็ว และถูกต้องในการคิดเงินและทอนเงิน ปัจจัยด้านพนักงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบประกอบอาหารมีคุณภาพ ปัจจัยด้านราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายทำเลที่ตั้งสามารถเดินทางสะดวก และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมีกิจกรรมส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในเขตเมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเฉพาะการปรับตัวของร้านอาหารในสถานการณ์โรคระบาดโควิด มีการเพิ่มช่องทางการขายผ่านบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ามีมาตรการจัดการที่ได้มาตรฐาน เฝ้าระวังและตรวจสอบสุขภาพพนักงานในร้านอยู่เป็นประจำ มีการประชาสัมพันธ์มาตรการที่ร้านสามารถทำได้ การดูแลรักษาความสะอาดภายในร้านอาหารมีจุดบริการสบู่ เจลล้างมือ มีพนักงานตรวจวัดไข้ลูกค้าทุกคนก่อนเข้าร้านเน้นทำอาหารที่ปรุงสุกใหม่   งดเสิร์ฟอาหารดิบ มีช้อนกลาง ดูแลจำนวนลูกค้าไม่ให้แออัดจนเกินไป พนักงานต้องรักในความสะอาด การสวมเสื้อกางเกงที่สะอาด ล้างมือทุกครั้งก่อนให้บริการ รวมถึงใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลาขณะอยู่ที่ร้าน

Article Details

บท
Research Articles

References

สุวิทย์ เมษินทรีย์. โมเดลประเทศไทย 4.0. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 27 มกราคม 2565)

จาก http://www.thansettakij.com/content/9309.

ศฐิฒฎา ธารารัตนสุวรรณ. (2563). ผลกระทบเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อวิกฤตการท่องเที่ยวของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. โควิด-19 ยืดเยื้อหนักร้านอาหารปรับอย่างไรในวิกฤต. (ออนไลน์) 2563

(อ้างเมื่อ 18 กรกฎาคม 2564) จาก https://www.kasikornbank.com/

SiteCollectionDocuments/business/sme/knowledge/img/restaurant_covid/restaurant_covid.pdf

สุพริศร์ สุวรรณิก. ธุรกิจร้านอาหาร เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 28 ธันวาคม 2564) จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAnd

Publications/articles/Pages/Article_12Jun2021.aspx

วัฒนะ สุขขวัญ. (2563). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารที่ปรับตัวในช่วงวิกฤต covid-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ปัณณพลวัชร์ เพชรวารี และลัดดาวัลย์ เลขมาศ. (2564). การศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการเพื่อเพิ่มยอดขายอาหารญี่ปุ่นหลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษา ร้านอาหารญี่ปุ่นโยชิโนะ ซูชิ. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

กิตติกร เรืองขำ, ยุวเรศ มาซอรี และกิตติกาญจน์ กาญจนะคูหะ. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวโดยใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภายใต้สถานการณ์ Covid 19 ธุรกิจร้านอาหารริบส์แมน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา,” วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 748-760.

ปรัชญา เหินสว่าง. (2563). “ปัจจัยความสำเร็จของการประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา,” Journal of Administrative and Management Innovation. 8, 3 (กันยายน-ธันวาคม): 106-115.

ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2564). “การปรับตัวของธุรกิจหลัง COVID-19,” วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย. 12, 2 : 99-110.

สัณห์จุฑา จำรูญวัฒน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารปรเภทฟูดทรัก (Food Truck) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.