การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ศุภณัฐ จันทร์สง่า
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยท้องฟาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้เทคนิค KWL Plus จำนวน 5 ชุด2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus จำนวน 20 ข้อ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม ผลการศึกษา 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบ คือ คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับครู คู่มือ การใช้กิจกรรมสำหรับนักเรียน ชุดกิจกรรม ภาษา และรูปเล่ม ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนําไปหาประสิทธิภาพพบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.67/78.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด 2) นักเรียนมีความสามารถทักษะคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus หลังการใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลพรรณ บินอิบรอฮีม. (2547). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาทักษะการเขียน สรุปความ ของ

นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว

กรมวิชาการ. (2546), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด

กัณหา คําหอมกุล. (2548). การพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความของนักเรียน ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

กาญจนา เกียรติประวัติ. (2542), วิธีสอนทั่วไปและทักษะการสอน. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช

กาญจนา ทีปะนะ และคณะ. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก

เกียรติชัย ยานะรังสี. (2540). ผลการสอนแบบ เค ดับบลิว แอล พลัส ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่าน

และความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จรวย สุดสวาท และคณะ. (2545). ความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษที่มีต่อการ

ให้บริการของมหาวิทยาลัยนเรศวร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ และคณะ. (2547). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และ

เขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

จุฑามาศ เจริญธรรม. (2549). การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด. นนทบุรี: สุรัตน์การพิมพ์

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสําราญ. (2548). ภาษากับการสื่อสาร. นครปฐม :

บริษัทฟรีเฟรทจํากัด.

ชลธิชา จันทร์แก้ว. (2549). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชะลอ รอดลาย. (2538). ทักษะการสรุปความเป็นพื้นฐานของการศึกษาที่จําเป็นสารพัฒนาหลักสูตร

, 117 (เมษายน - มิถุนายน 2538)

ชัยวงค์ พรหมวงศ์. (2523). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอน

ระดับประถมศึกษา หน่วย 8-15. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:

แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น

ดาวนภา ฤทธิ์แก้ว. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความถนัดทางการเรียนแตกต่างกันในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดมุกดาหาร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทัศนี คําอิ่ม และคณะ. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

นเรศวร, พิษณุโลก

บุญชม ศรีสะอาด. (2535) สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : : สุวิริยาสาส์น

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น

พรรณี เศวตมาลย์. (2543). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธี

สอนแบบ KWL Plus กับการสอนอ่านตามคู่มือครู. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ระพิน โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือการวิจัย. คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

นรสิงห์. (2540). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและเจตคติต่อการอ่าน ภาษาอังกฤษของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนอ่านด้วยกลวิธี KWL Plus กับการสอนอ่าน

ตามคู่มือครู. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อมรศรี แสงส่องฟ้า. (2545). การเปรียบเทียบความพึงพอใจและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทะเลบก อำเภอ กําแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ที่ได้รับการสอนด้วยวิธี KWL Plus กับการสอนตาม คู่มือครู. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร

Carr, E, and Donna Ogle. (1987). K-W-L Plus: A Strategies for Comprehension

and Summarization. Journal of Reading. 30 (April 1987).

Good, Cater V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Company.

Stuffer, Russell. (1980). Teaching Reading as a Thinking Process. New York: Row

Publishers.