การพัฒนาตัวชี้วัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปาริฉัตร ทับทิมหิน
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

บทคัดย่อ

          การพัฒนาตัวชี้วัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาตัวชี้วัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้สุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 360 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ แบบสอบถามจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ประกอบด้วยตัวชี้วัด 7 ตัวชี้วัด จำนวนข้อคำถาม 30 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .873 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่า 1) จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ การรู้จักใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ การใช้มุมมองที่หลากหลายมีความยืดหยุ่น การส่งเสริมการใช้ภาษา มีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา ใช้การสร้างแบบจำลองหรือรูปแบบ การทำความเข้าใจปัญหาและการใช้ความรู้เดิม 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi - Square (gif.latex?\chi2) = 15.920 ที่องศาอิสระ

Article Details

บท
Research Articles

References

พงศธร มหาวิจิตร. (2559). จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์. นิตยสาร สสวท. ปีที่ 44, ฉบับ 201,20-23)

พงศธร มหาวิจิตรและสุนทรีย์ปาลวัฒน์ชัย. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวุฒิ เป็งธินา. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดเพื่อพัฒนาจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปทที่ 2 เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2563)

วาสนา จันทร์เสริม. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตนิสัยคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หนึ่งฤทัย ชูชัย. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะจิตนิสัยคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Al Cuoco, E., Goldenberg, Paul and Mark, June. (1996). Habits of mind: An organizing principle for a mathematics curriculum. Journal of Mathematical Behavior, 15(4), 375-402

Costa. A.. & Kallick, B. (2000). Habits of mind: A developmental series. Alexandria. VA: Association for Supervision and Curriculum Development.

Harel, G. (2008). What is mathematics? A pedagogical answer to a philosophical question. Current issues in the philosophy of mathematics from the perspective of mathematicians. Washington, DC: Mathematical American Association.

Levasseur, K., and Cuoco, A. (2003). Mathematical habits of mind. In Schoen, H. L.(Ed.). Teaching Mathematics Through Problem Solving: Grade 6-12 (p. 23- 37). Reston: National Council of Teachers of Mathematics (NCTM)

Seeley, C. L. (2014). Smarter Than We Think: More Messages About Math. USA: Scholastic Inc.