การบริหารหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าไทยรามัญของโรงเรียนวัดม่วง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

วารุณี เกิดพงษ์
กาญจนา บุญส่ง
ไพรัช มณีโชติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าไทยรามัญของโรงเรียนวัดม่วง และ 2) บริหารหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าไทยรามัญของโรงเรียนวัดม่วง จังหวัดราชบุรี กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนวัดม่วง จังหวัดราชบุรี รวมทั้งสิ้น 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า


          1. องค์ความรู้ท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้าไทยรามัญของโรงเรียนวัดม่วง ประกอบด้วย 1) ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนบ้านม่วง 2) ประวัติผ้าทอไทยรามัญบ้านม่วง 3) วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทอผ้าไทยรามัญ 4) ประเภทและลายผ้าทอไทยรามัญ 5) ลักษณะเด่นของผ้าไทยรามัญ 6) การทอผ้าของโรงเรียนวัดม่วง และ 7) สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทยรามัญ


  1. การบริหารหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง การทอผ้าไทยรามัญของโรงเรียนวัดม่วง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2) การปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 3) การประเมินหลักสูตรท้องถิ่น และ 4) การปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับผลการปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าไทยรามัญของโรงเรียนวัดม่วง ประกอบด้วย โครงสร้างหลักสูตร สาระท้องถิ่น คำอธิบายรายวิชา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 4 หน่วย คือ 1) สืบสาวราวเรื่อง 2) ฟุ้งเฟื่องด้านภูมิปัญญาทอผ้าคุณค่าไทยรามัญ 3) สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และ4) เห็นความสำคัญของผ้าทอพื้นบ้านไทยรามัญ มีแผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 3 หน่วย คือ 1) ลวดลายผ้าทอไทยรามัญ 2) สารพันทักษะ และ 3) สร้างจิตสำนึก มีแผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีหน่วยการเรียนรู้ จำนวน4 หน่วย คือ 1) ขั้นตอนการทอผ้าไทยรามัญ 2) สารพันทักษะ 3) ลักษณะลายผ้า และ 4) อาชีทอผ้ากับงานผลิตภัณฑ์ มีแผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน ผลการทดลองใช้หลักสูตร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 33.20 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอยู่ในระดับ 84.25 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 24.67 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอยู่ในระดับ 83.54 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 28.05 และนักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอยู่ในระดับ 84.56

Article Details

บท
Research Articles

References

กาญจนา บุญส่งและนิภา เพชรสม.(2556).เอกสารประกอบการสอนวิชาผู้นำทางวิชาการและการพัฒนา หลักสูตร.เพชรบุรี:มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ชูชัย มีนุช.(2555).การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องตาลโตนดที่บ้านไร่กร่าง ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2552). การวิจัยปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 9. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์ กรุ๊ป.

บงกชพร กรุดนาค.(2555).การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการสกัดสมุนไพรและปุ๋ยหมักธรรมชาติจากภูมิ ปัญญาท้องถิ่นตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : แสงศิลป์ .