แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่น บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Main Article Content

ปิยะนุช เหลืองาม
วีระนุช แย้มยิ้ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่นบ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและมีวิธีการดำเนินการศึกษาโดยการสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นในชุมชนที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อค้นหาแนวทางทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือน ในหมู่ที่ 4 บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 161 คน จากทุกครัวเรือนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้น และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน มีเครื่องมือ  ในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม  ผลการศึกษาพบว่า มีแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่นมี 7 แนวทาง ดังนี้


แนวทางที่ 1 การสืบทอดจากบรรพบุรุษ เป็นการเรียนรู้ จากพ่อสู่ลูก แนวทางที่ 2 การจดบันทึกการทำสมุดคู่มือ ผู้ให้ข้อมูลได้ทำการจดบันทึกพืชสมุนไพร ประโยชน์ สรรพคุณ สัดส่วนการแปรรูปและปรุงยา แนวทางที่ 3 การขยายพันธุ์พืชสมุนไพรท้องถิ่นมีวิธีการ 3 อย่าง ได้แก่ การนำพันธุ์พืชจากป่าเข้ามาปลูกในครัวเรือน การขยายพันธุ์ด้วยตนเองในบ้านและการแลกเปลี่ยนสายพันธุ์แก่ผู้ที่สนใจ แนวทางที่ 4 การพัฒนาตนเองการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีหน่วยงานของรัฐได้เข้ามาพัฒนายกระดับปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้ด้านพืชสมุนไพร หมอยาพื้นบ้าน แนวทางที่ 5 การนำพืชสมุนไพรท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นยารักษาโรค การพัฒนาและผสมผสาน พืชสมุนไพรหลากหลายชนิด แนวทางที่ 6 การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการจำหน่ายยาจากพืชสมุนไพรท้องถิ่นส่งผลให้ผู้ให้ข้อมูลนำความรู้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และผ่านกระบวนการพัฒนานำมาสู่การจัดจำหน่ายในหลายพื้นที่ และแนวทางที่ 7 การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลที่สนใจ เยาวชน หน่วยงานของรัฐ เครือข่ายพืชสมุนไพร


 

Article Details

บท
Research Articles

References

เพียงใจ เจียรวิชญกลุ. (2559). ความหลากหลายของพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ในเขตเขาซับแกงไก่ จังหวัดลพบุรี. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภฏัเทพสตรี ลพบุรี.

สุวารีย์ ศรีปูณะ. 2543. การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทาง

ชีวภาพ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมภพ ประธานธุรารักษ์ และพร้อมจิต ศรลัมพ์. (2552). สมุนไพรการพัฒนาเพื่อการใช้

ประโยชน์ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : หจก สามลดา จำกัด.

เสาวภา สุขประเสริฐ และ จันทร์แจ่ม ดวงอุปะ. (2556). ทุนชุมชนกับการอนุรักษ์ความ

หลากหลายพันธุ์พืชสมุนไพร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

หยาดเพชร แก้วสารและคณะ. (2556). การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของหมู่บ้าน

บุ่งผักขม ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-

ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

valley, district buner, Pakistan journal of Botanical. 43 (3) : 1445-1452.

Chakul, W. And Chramongkolgarn, U. and Paisooksantivatana, Y. (2002). Medicinal Plants in Tao Dam Forest, Wangkrajae Village, Sai Yok District, Kanchanaburi Province. Thai Journal of Phytopharmacy. 9(2) : 47-56.