การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธิดากาญจน์ หินเดช
สังวาร วังแจ่ม
ทัศนีย์ บุญมาภิ
สุรศักดิ์ สุทธสิริ

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 104 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหารและครู จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมัลติมีเดีย และด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน


แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้ ผู้บริหารควรสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินการและปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับสถานะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีนโยบายให้ครูมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรสถานศึกษา สามารถสร้างและพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและท้องถิ่น ส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ แบ่งปันแนวคิด เพื่อพัฒนาแนวทางการสอนและสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เหมาะสม แสดงบทบาทผู้นำและผู้ตามให้เหมาะสมตามโอกาส ฝึกการเป็นผู้ตามที่ดี เพื่อก้าวเป็นผู้นำที่ดีกว่า


 


 

Article Details

บท
Research Articles

References

โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์). (2565). รายงานการประเมินตนเองของ

สถานศึกษา ปีการศึกษา 2565. เชียงใหม่: โรงเรียนเทศบาลหางดง.

โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

ปีการศึกษา 2565. เชียงใหม่: โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย.

โรงเรียนเทศบาลหนองตองวิทยา. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

ปีการศึกษา 2565. เชียงใหม่: โรงเรียนเทศบาลหนองตองวิทยา.

กานดา พูนลาภทวี, ธีรพงษ์ วิริยานนท์ และกรรณ จรรยาวุฒิวรรณ. (2557). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 148.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 47-63.

ดารกา บุญกาญจน์. (2563). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี, 4(3), 345-357.

ธนกฤต อั้งน้อย. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 169-180.

ธนวัฒน์ สุขเกษม เสาวนี สิริสุขศิลป์ และวัลลภา อารีรัตน์. (2564). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วยในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 185-193.

บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศ คลองหลวง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

ปรีชา นาราศรี. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี.

ปาริชาต ไทยเจริญ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะของครูวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วนิดา ภูชำนิ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วันทนา สิงห์นา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เสริมด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ต่อ มโนมติลม ฟ้า อากาศของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 7 (ฉบับพิเศษ), 80-93.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทย

ให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร”. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จํากัด.

สุชาดา หวังสิทธิเดช และคณะ. (2558). การศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมศักดิ์ ฉัตรประยูร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับทักษะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อติเทพ ไข่เพชร. (2562). การพัฒนาสมรรถนะครูวิชาชีพเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.