การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพสันทราย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 2

Main Article Content

สุดารัตน์ สุริยะวงษ์
ทัศนีย์ บุญมาภิ
สังวาร วังแจ่ม
สุรศักดิ์ สุทธสิริ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21และศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพสันทราย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 127  คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ตัวแทนกรรมการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนผู้ปกครอง ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสันทราย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2      ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณนา


ผลการวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพสันทราย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ


          แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษ    ที่21 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพสันทราย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 คือ 1.ผู้บริหารควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมแก่บุคลากรและชุมชนเพิ่มมากขึ้น 2. ควรจัดอบรมเพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนและให้บุคลากรได้ทราบและเข้าใจในเรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3.ควรส่งเสริมให้ชุมชนและบุคลากรตระหนักและมองเห็นถึงความสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4.ควรให้ชุมชน หน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมจะทำให้ทราบถึงโอกาส อุปสรรค ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน

Article Details

บท
Research Articles

References

กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32.ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ทับทิม แสงอินทร์.(2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิญาดา ภัคธนาภิญโญ.(2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา.โรงเรียนบ้านไร่ต้นสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.

นวมณฑ์ อุดมรัตน์. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ: กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จากhttp://shorturl.asia/tDHpT

นิภาพร รอดไพบูลย์.(2565). ทักษะการบริหารในศตรวรรษที่21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว.ศึกษาศาสตการศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิสราพร แช่มชูงาม. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับคุณภาพชีวิตการทางานของครูใน สถานศึกษาสังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปานระพี มหาสาโร.(2563) การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2.ศึกษามหาบัณฑิต การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิกุล นามฮุง.(2565) .การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.โรงเรียนบ้านต้นสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.

พิมพ์พิชมญชุ์ สุภายอง.(2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย.ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พรทิพย์ มงคลเสถียร. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารในศตวรรษที่21ของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3.ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

แพรวพรรณ เปรมลาภ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มนัญญา ปัดถาวงษ์. (2562). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี.ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มณฑาทิพย์ นามนุ.(2561).ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2.ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัตน์ฐาภัทร์ ธนโชติสุขสบาย. (2557). ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนชลประทานเขื่อนแม่กวง จิราธิวัฒน์อุปถัมภ์. (2565). แผนกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ

ปี (ปี2563-2566) . เชียงใหม่ : โรงเรียนชลประทานเขื่อนแม่กวง จิราธิวัฒน์อุปถัมภ์

อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.

วราพร บุญมี.องค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์.ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วัชรากร ชวดกลางลา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการ บริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สัตตบุษย์ โพธิรุท.(2565)ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เสาวนีย์ เดือนเด่น และคณะ. (2558). การมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคลากร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หัสนัย เจนจบ. (2564) ได้ให้แนวทางพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี.ครุศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

หนึ่งฤทัย มั่นคงและคณะ (2562) แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในยุค Thailand 4.0.คณะครุศาสตร การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.