การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้าว 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

Main Article Content

ประภาช ใจมิภักดิ์
สุดา เนตรสว่าง
สาโรจน์ แก้วอรุณ
ธรรมรส โชติกุญชร

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลและศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้าว 3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 75 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน และครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้าว 3  จำนวน 71 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  แล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณนา


ผลการวิจัยพัฒนาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้าว 3  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อ


          แนวทางการพัฒนาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่แสดงให้เห็นถึงการปรับระบบการทำงานให้ทันสมัยตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป พยายามลดภาระงานของครู ในการดำเนินงานต่าง ๆ โดยพยายามหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้นควรการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบดูแลช่วยเหลือและการเพิ่มขีดความสามารถการจัดทำข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีเป็นโอกาสที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกด้าน

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

จักรพงษ์ ตระการไทย. (2565). การดำเนินการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เฉลิมพงษ์ สุขสมพนารักษ์. (2561). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านช่างหม้อ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ณัฐดนัย เนียมทอง. (2561). มองเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล. [ออนไลน์]. ได้จาก :https://www.scimath.org/article-technology/item/8477-2018-07-18-04- 11-25. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 สิงหาคม 2565].

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ .(2561). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เทียนชัย เจริญสุข (2566). การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

เลย เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(8), 33-45.

แพรพลอย พัฒนะแสง. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.

ลัดดาวัลย์ เพชรจันทร์. (2559). ปัญหาและแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนบ้านปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภกร รัตนวงษ์. (2565). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). Digital literacy คืออะไร. [ออนไลน์].ได้จาก : https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12สิงหาคม 2565].

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2 (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2565

อธิป เกตุสิริ และคณะ (2565) .สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ .วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2566, 18 พฤศจิกายน). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). http://trueplookpanya.com.