การบริหารงานงบประมาณในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา กลุ่มการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

มิ่งขวัญ อินต๊ะพิงค์
ธีระภัทร ประสมสุข
เมืองอินทร์ ชรสุวรรณ
พงษ์ไทย บัววัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานงบประมาณและแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในยุคดิจิทัลของสถานศึกษากลุ่มการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 140 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานงบประมาณในยุคดิจิทัลของสถานศึกษากลุ่มการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดเชียงใหม่  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารการเงิน และด้านการจัดทำแผนงบประมาณ ตามลำดับ


แนวทางการบริหารงานงบประมาณในยุคดิจิทัล คือ ควรพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานแผนกลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาตามกระบวนการ PDCA , ระบบข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ทางการเงิน ทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และหลักฐานการจ่ายเงิน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรมีส่วนร่วมดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาตามกระบวนการ PDCA , ระบบข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ทางการเงิน ทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และหลักฐานการจ่ายเงิน

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกอร สมปราชญ์. (2556). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ขอนแก่น :

คลังนานวิทยา.

กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่ม

อำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

เขมจิรา อยู่เจริญ และกัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2566). การใช้เทคโนโลยีเพื่อการ

บริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ธัญญาภรณ์ นาจำปา. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล

สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นงลักษณ์ พรหมพา. (2558). การบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สหวิทยาเขต 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29.

การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ“สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อ

ก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน”, 2, 251-258.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผูบริหาร

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแกน เขต 4.

วารสาร บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแกน, 7(2), 151-166

รักษณาลี สุริหาร. (2563). สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่. (2565). สรุปผลการดำเนินงานโครงการประจำปี

สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วีระพงษ์ ก้านกิ่ง. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้น

พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

แสงเทียน จิตรโชติ. (2560). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล

สำหรับสถานศึกษาขยายโอกาสในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี.

การค้นคว้าอิสระ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อาภาวรรณ สงวนหงส์. (2563). การบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการ

ปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์.

การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management

in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566, จาก : http://www.trueplookpanya.com