การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

ธวัชชัย อินทขีณี
สุนิสา วงศ์อารีย์
พนายุทธ เชยบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศและหาการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศด้านกีฬาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและครูโรงเรียนที่เป็นแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศด้านกีฬา จำนวน 1 โรงเรียน ระยะที่ 2 หาการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศด้านกีฬาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย มี 7 องค์ประกอบ 21 ตัวชี้วัด 2) การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย มี 7 ด้าน   29 วิธีการ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนปฏิบัติราชการรายปี 2565. กรุงเทพฯ:

สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ชุมพล กุลเขมานันท์. (2563). แนวทางการพัฒนาศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศของสถาบัน

การพลศึกษา เขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.

ธนบัตร พูนโสภิน. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศทาง

การกีฬาของโรงเรียนกีฬาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิตยา เกิดจันทึก. (2561). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบริหารจัดการกีฬาเพื่อ

ความเป็นเลิศกรณีศึกษาสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันริโอโอลิมปิกเกมส์ 2016. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บงกช จันทร์สุขวงค์. (2562). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. วิทยานิพนธ์ ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปรางทิพย์ ยุวานนท์. (2552). การจัดการการกีฬา. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.อินฟอร์เมชั่นแอนด์พับลิเคชั่น.

พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์. (2552). การกีฬา ความสำคัญของกีฬา. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2566,

จาก http://pantown.com.

พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ.2560. (2560, 26 กรกฎาคม).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอน 79 ก. หน้า 5-9.

ยุทธศาสตร์ เดโชชัยวัฒน์. (2563). แนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมสู่ความเป็น เลิศ ในกีฬาว่ายน้ำของสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

รัตนาภรณ์ ทรงพระนาม. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย และการกีฬามหาวิทยาลัยบูรพา.

สมบัติ คุรุพันธ์. (2552). การแข่งขันกีฬายุคใหม่กับความเป็นเลิศทางการกีฬา. วารสาร

กองกิจ. 6(1), 10.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2565). แผนปฏิบัติการประจำ

ปีงบประมาณ 2566. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย.

อัษ แสนภักดี. (2558). รูปแบบของปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกีฬา

เพื่อความเป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Peter, T. J. & Waterman, R. H. (1988). In Search of Excellence: Lessons from

America’s. New York: Warner Books.