การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประสมประสาน (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 3. เพื่อศึกษาทิศทางการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วยผู้สูงอายุ จำนวน 187 คน ผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้บริหารภาครัฐ จำนวน 180 คน รวมทั้งสิ้น 367 คน ส่วนผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้ให้การสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม แบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บรวบร่วมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า แบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) แบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ยังใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปใจความสำคัญ (Thematic Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพอีกด้วย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการการวิจัยประสมประสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บรวบร่วมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปใจความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพอีกด้วย
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้บริหารภาครัฐ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีส่วนในการกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับ การวางแผนและการตัดสินใจ แลการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพึงพอใจการกำหนดวัตถุประสงค์เนื้อหาหลักสูตร และด้านโปรแกรมการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับ
3. ทิศทางการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุสำคัญประกอบด้วย การกำหนดแผนแม่บทและเป้าหมายการดำเนินที่ชัดเจน นำนวัตกรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่ายนักนันทนาการมืออาชีพให้ปฏิบัติงานร่วมกันอย่างกว้างขวาง
Article Details
References
กรมพลศึกษา (2563). รายงานวิจัยการพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ออนไลน์) แหล่งที่มา https://www.dpe.go.th/research-files-431891791792 สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563
______. (2563). (แผนแผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560 – 2564) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ออนไลน์) แหล่งที่มา https://www.dpe.go.th/manual-preview-412991791793 สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563
กำโชค เผือกสุวรรณ (2559). ผู้นำนันทนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิพม์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
กองสวัสดิการสงเคราะห์ (2542).ปฏิญญาผู้สูงอายุ กรมประชาสังเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม(ออนไลน์) แหล่งที่มา https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309154750_1.pdf สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2563
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี :สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.d Compeny.
ฤทธิชัย แกมนาคและสุภัชชา พันเลิศพาณิชย์ (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย รายงานวิจัยฉบับสมบุรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ จังหวัดเชียงราย
สมบัติ กาญจนกิจ. ( 2557). นันทนาการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง ( 2562). (ออนไลน์) แหล่งที่มา www.aonang.go.th/index.php ) สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2563
อำพล ชะโยมชัย,ปิยะวัน เพชรหม,และคณะ (2563).นันทนาการในคนไทยสูงอายุ: การสนับสนุน แรงจูงใจ ความพึงพอใจ และมุมมองด้านประโยชน์ของกิจกรรม นันทนาการ บทความวิจัย วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2563): 180 (ออนไลน์) แหล่งที่มา http://grad.vru.ac.th/meeting_board/Meeting%2011-2563/4.12.pdf