การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีผลต่อความเจริญงอกงามของนักศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร

Main Article Content

กฤษณะ เริงสูงเนิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีผลต่อความเจริญงอกงามของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความเจริญงอกงามของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีผลต่อความเจริญงอกงามของนักศึกษา วิธีดำเนินการใช้ระเบียบวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 16 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีผลต่อความเจริญงอกงามของนักศึกษา 2) แบบทดสอบความเจริญงอกงามของนักศึกษา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มการให้คำปรึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และThe Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test


ผลการวิจัยสรุปได้ว่า


                1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีผลต่อความเจริญงอกงามของนักศึกษา มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การรู้จักธรรมชาติ 2) การรู้จักตนเองและผู้อื่น 3) การปรับตัว 4) การมีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง และ5) การรู้จักคิดและค้นหาปรัชญาในชีวิต จากการประเมินหาค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 มีความเหมาะสมมากที่สุด


                2) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเจริญงอกงามภายหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม สูงกว่าคะแนนก่อนการทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนความเครียดก่อนการทดลอง


                3) นักศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75

Article Details

บท
Research Articles

References

กนก พานทอง และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์ ปิยะทิพย์ ประดุจพรม. (2563). การพัฒนามาตรวัดความเจริญงอกงามแบบออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563), 137 - 158.

กฤตพล รังสิยานนท์. (2563). ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มุ่งเน้นการฝึกสติ การยอมรับและ พันธสัญญาที่มีต่อความเมตตากรุณาต่อตนเอง ความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นหมายของนักกีฬาเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา ไชยพันธ์. (2549). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริง เพื่อลดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2564). การพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนิสิตจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 47 ฉบับที่ 1 (2021), 75 - 98.

นภิสรา ชาญวิบูลย์ศรี. (2562). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีปัญญาสังคมต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนิสิตชั้นปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรี ทรัพย์มี. (2550). กระบวนการปรึกษา ขั้นตอน สัมพันธภาพ ทักษะ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุสรา พื้นงาม. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อส่งเสริมความเจริญงอกงามส่วนบุคคลของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

C. L. M. Keyes. (2002). The mental health continuum: From languishing to flourishing in life. Journal of Health and Social Behavior, 207 - 222.

C. Rogers. (1970). Toward a theory of creativity. Harmondsworth: Penguin Books.

C., & Minulescu, M. Turcu. (2019). Development and personal growth group—A psychodynamic-analytical approach. Erdelyi Pszichologiai Szemle, 51 -81.

F. A., & So, T. T. C. Huppert. (2013). Flourishing across Europe: Application of a new conceptual framework for defining well-being. Social Indicators Research, 837–861.

G. Corey. (2004). Theory and Practice of Group Counseling.6th ed. California: Brooks/Cole.

G. Corey. (2009). Theories and practices of counseling and psychotherapy : Belmon. Thomson Brooks: Cole.

Henry D. Mason. (2021). Grit and its relation to well-being among first-year South African university students. Journal of Psychology in Africa, 226-231.

M. E. P. Seligman. (2011). lourish: A visionary new understanding of happiness and well-being. American Psychological Association: https://psycnet.apa.org/record/2010-25554-000.