การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5 Res โมเดล ร่วมกับ Active learning เพื่อพัฒนาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5 Res Model ร่วมกับ Active learning (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5 Res Model ร่วมกับ Active learning (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5 Res Model ร่วมกับ Active learning กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ชั้นมัธยมศึกษา 3.1 จำนวน 30 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และตรวจสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 5 Res Model ร่วมกับ Active learning มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นนักเรียน ขั้นที่ 2 ริเริ่ม ขั้นที่ 3 การชี้แนะ ขั้นที่ 4 อธิบายและลงข้อสรุป ขั้นที่ 5 ขั้นตรวจสอบและ ประเมินผล ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยกรมวิชาการ
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2559). การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning).
คณะศึกษาศาสตร์. (2560). โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ“การจัดการเรียนรู้แบบ Phenomenon-based Teaching and learning. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพมหานคร
จักรพงษ์ ผิวนวล (2556). การศึกษาความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปรผัน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการสอนคณิตศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชัชวาล บัวริคาร (2559). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนซิปปา เรื่อง การเรียนสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สาขาการสอนคณิตศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
ชัชวาล อ่อนเกษ และนวพล นนทภา. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด สะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริความสามารถในการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2565) หน้า 9-13
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลของการจัดกี่เรียนรู้เชิงรุก เรื่องทักษะการะบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทลี พรธาดาวิทย์ “การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้” วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2560), หน้า 85 – 94
นภาพร เขียวแก้ว (2560). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แทรกด้วยเพลงเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2560), หน้า 71-80
นันทวัน เรืองอร่า (2563). “เสริมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนด้วยเกม” พัฒนาเทคนิคศึกษา. ปีที่ 32, ฉบับที่ 115 (ก.ค.-ก.ย. 2563), หน้า 3-11.
นัยนา ไพจิตต์ (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นายมนัสวี อุตรภาศ (2561). การวิเคราะห์กระบวนการในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วน ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/1 และมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร. หน้าที่ 6
นิธินันท์ กลั่นคูวัฒน์. (2559). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา ของโพลยาที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การสอนคณิตศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปวีณา เทพจั๋ง (2561). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดเมเยอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 3 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปิยะนุช ดรปัดสา (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
พรทิพา เมืองโคตร. (2559). ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มณีรันต์ พรมศรี. (2558). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัยธมศึกาปีที่ 4 โดยโช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่องการประยุกต์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฤชามน ชนาเมธดิสกร. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ Polya ร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์. (2556). การประเมินความตั้งใจจดจ่อโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองและ การประยุกต์ใช้ในเด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น.นครปฐม:ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
วารสาร สควค. ฉบับที่ 18 (มกราคม-มีนาคม 2554) หน้าที่ 10-11
วาสนา รุ่งอนุรักษ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงออกแบบ ผสมผสานกับประสาทวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาแบบ ร่วมมือการทำงานของสมองและผลการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย.วิทยานิพนธ์หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์2 (พิมพค์รั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศานิตย์ ศรีคุณ, อิสรานุวัฒน์ ศรีคุณ และ นายอนุชิต กุระจินดา. (2561). การพัฒนาซอฟแวร์แบบวัดความสามารถเชิงพุทธิปัญญา: ความตั้งใจและความจำขณะทำงาน. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการ เรียนรู้”. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
สุธิมา บุญช่วย ,กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล ,ณัฏฐลภัส จันทร์เดชาสุข (2566). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดโพลยาร่วมกับเทคนิค การใช้ค าถาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี , หน้าที่ 10
สุภัทธิรา คงนาวัง ,นฤมล ภูสิงห์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, (ฉบับที่ 3), 142-143
สุวิทย์ อุปสัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิด constructivism และ metacognition ร่วมกับความรู้ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์เป็นฐาน เพื่อพัฒนา ความสามารถด้านคำศัพท์วิทยาศาสตร์สุขภาพ ขอนแก่น: วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรุณี เต็งศรี (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรโดยใช้เทคนิค KWDL ที่มีผลต่อทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อารีรัตน์ แสงดาว วารุณี ลัภนโชคดี และ ชานนท์ จันทรา (2560) “การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1”วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ. ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 60), หน้า 46-54
อิทธิพัทธ์ ศุภรัตนาวงศ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็น ฐานร่วมกับสังคมออนไลน์. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2559
อิสรยาภรณ์ เศวตรพนิต (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) การศึกษามหาบัณฑิต การสอนสณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
อุบลวรรณา ภวกานันท์. (2555). จิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา = Cognitive psychology. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Auster, E. R., & Wylie , K.K. (2006). Creating active learning in the classroom : A systematic approach. Journal of Managemwnt education, 30, 333-354.
Baddeley, A. (2010). Working memory: theories, models, and controversies. Annual Review of Psychology, 63, 1–29.
Cretu, D. (2014). Integrating active learning methods during university lectures. Journal Plus Education, X(2014)(1), 166-172.