แนวคิดการสร้างสรรค์รูปแบบบอนไซ สู่การออกแบบไม้ดัดอัตลักษณ์พื้นถิ่นอีสาน

Main Article Content

เทพฤทธิ์ ไชยจันทร์
อนุชา แพ่งเกษร

บทคัดย่อ

แนวคิดการสร้างสรรค์รูปแบบบอนไซ สู่การออกแบบไม้ดัดอัตลักษณ์พื้นถิ่นอีสาน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของศิลปะการทำบอนไซสองวัฒนธรรม (2) เพื่อนำเสนอ แนวคิดการสร้างสรรค์รูปแบบบอนไซ สู่การส่งเสริมอัตลักษณ์ไม้ดัดพื้นถิ่นอีสาน โดยกระบวนการศึกษาข้อมูล การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผล เพื่อนำเสนอแนวคิด โดยผลการวิเคราะห์พบว่า รูปแบบของบอนไซมาจากลักษณะของต้นไม้ในธรรมชาติตามพื้นที่ภูมิประเทศ ดังนั้นการกำหนดรูปแบบของบอนไซอีสาน ตามลักษณะของต้นไม้ในภูมิประเทศ สามารถนำต้นไม้พื้นถิ่นมาสร้างรูปแบบของบอนไซอีสาน เช่น บริเวณที่สูงลาดลงมาแต่เชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มของลำน้ำ หรือบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง เป็นต้น อีกทั้งอีสานในหลายพื้นที่ มีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่นมากมายกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค เช่น ฮูปแต้ม เครื่องปั้นดินเผา ลวดลายบนไหบ้านเชียง ปราสาทหิน เป็นต้น ลักษณะอัตลักษณ์อีสานเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นกระถางบอนไซอีสาน นำไปสู่แนวทางการออกแบบพัฒนารูปแบบไม้ดัดที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นอีสาน เป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมศิลปากร. (2561). โครงตำราไม้ดัดและทารกาภิบาล ของหลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์).

สำนักวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ชาง ตันสกุล. (ม.ป.ป.). บอนไซ BONSAI. ฐานเกษตรกรรม.

พรรณทวี พรประเสริฐกุล. (2547). คู่มือบอนไซ. เพ็ท-แพล้น พับลิชชิ่ง.

พัฒน์ พิชาน. (2547). ศิลปะการทำไม้แคระ The Art of Bonsai. แนวเกษตรกรรม.

ภวพล ศุภนันทนานนท์. (2561). บอนไซBONSAI. บ้านและสวน.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2533). แอ่งอารยธรรมอีสาน แฉหลักฐานโบราณคดี พลิกโฉมหน้า

ประวัติศาสตร์ไทย. มติชน

โอสถ โกสิน. (2521). บอนไซ เจ้าภาพตีพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทาน

เพลิงศพ พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ. (ม.ป.ท.)

Bonsaiempire. (2013, n.d.). Bonsai styles. Bonsaiempire.

https://www.bonsaiempire.com/origin/bonsai-

theneww. (2562, 16 พฤษภาคม). รู้รอบเรื่องบอนไซญี่ปุ่น. allabout-japan.

https://allabout-japan.com/th/article/5779/styles