ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ มหัศจรรย์วัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วริศรา ชูสกุล
นฤมล ภูสิงห์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ มหัศจรรย์วัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ มหัศจรรย์วัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ก่อนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน  ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 .ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ มหัศจรรย์วัสดุ และแบบวัดการคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t test  ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ มหัศจรรย์วัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การวัดการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 3(2), 13-25.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2555). การเสริมสร้าง วิทย์เทคโนโลยีศิลปะ และคณิตศาสตร์ด้วย STEAM

Model. เข้าถึงได้จาก http://www.educathai.com/workshop_download_ handout_download.php?id =60&page=4. 11 พฤศจิกายน 2564

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). รายงานสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ STEM Education. เข้าถึงได้จาก http://www.slideshare.net/focusphysics/stem-workshopsummary. 19 พฤศจิกายน 2564.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. นิตยสาร สสวท., 42(189), 7-10. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารสมาคมครู วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 1(19), 15-18. . (2556). เทคโนโลยีและวิศวกรรมคืออะไรในสะเต็มศึกษา. นิตยสาร สสวท., 42(185), 35-37.