แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

บารมี พรมบุญ
ธีระพล เพ็งจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี 2)เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี และ 3)ประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายคือครูและบุคลากรทางการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 227 คน ในปีการศึกษา 2564 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกรายการเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า  1. ผลการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับที่มาก 2).การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 3 มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และการบริหารแบบมีส่วนร่วม 5 ด้าน


3) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี 3 มาตรฐาน ค่าที่แปลผลคือมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:บุคพอยท์.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยาจังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฏีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา.

ภารดี อนันต์นาวี. (2552). หลักการ แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มนตรี.

อนิวัช แก้วจํานงค์. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ = Human resource management. สงขลา : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

Argyris, C. (1964). Interpersonal competence and organizational effectiveness. Homewood: Irwin - Dorsey.

Likert, Rensis. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.