ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาและการพัฒนาทักษะ Soft Skills ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาและการพัฒนา soft skills ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2.) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาและทักษะ Soft Skills ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 3.) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาและพัฒนาทักษะ Soft Skills Skills ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ผลการวิจัยพบว่า ทักษะ Soft Skills ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X̅ = 4.19, S.D.= 0.45) ส่วนรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยทักษะที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ทักษะการสื่อสาร รองลงมา ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการจัดการข้อมูลสารสนเทศ ทักษะด้านความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว ทักษะการเป็นผู้นำ ทักษะด้านจริยธรรมในการทำงานและความเป็นมืออาชีพ และทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการจัดการศึกษาและทักษะ soft skills ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม พบว่าโดยรวมปัจจัยการจัดการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 (Rxy = 0.81) กับทักษะ soft skills ในศตวรรษที่ 21ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม อยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ด้านอัตมโนทัศ (X1) และด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน (X6) สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 2 ด้านร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 56 (R2= .56) และสามารถเขียนตัวแบบการพยากรณ์ทักษะของนักศึกษาได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y' = 1.94 +.32 X1 + .21 X6 และสมกาพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zy' = .45 Z1 + .32 Z6
Article Details
References
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-
สฤษดิ์วงศ์.
สิวินีย์ ทองนุช ระพินทร์ ฉายวิมล และสุรินทร์ สิทธิธาทิพย์. (2562). การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต
ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค.
วารสาร การศึกษาและและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา 15 (2), 22-32.
ศิริมา พนาภินันท์ และทัศนัย เพ็ญสิทธิ์. (2564). Soft Skills ที่มีความจำเป็นสำหรับนักศึกษา
สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารศิลป์ปริทัศน์ 9 (1), 108-112.
ศรุตา โปษยานนท์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวกับเพื่อนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 โรงเรียน
เซนต์ ดอมินิก เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มนตรี อินตา. (2562). Soft Skills: ทักษะที่จำเป็นสู่ความเป็นมืออาชีพของครูยุคใหม่.
วารสารวิชาการ ศึกษา. 20(1), 153-167.
บุษกร วัฒนบุตร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Soft Skills ของเยาวชนไทยในศตวรรษ
ที่ 21. วาสารวิจัยวิชาการ. 4 (1), 87-94.
ชโลทร โชติกีรติเวช และวัลลภา อารีรัตน์. (2560). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ Soft
Skills เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขต 25. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา)
สาขามนุษยศาตร์. 5(1), 44-52.
สุพรรณิการ์ ชนะนิลและคณะ. (2563). การสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะ Soft Skills
ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูดของนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. 12(1), 19-35.
วาริษา ประเสริฐทรง และวัลภา อารีรัตน์. (2015). ทักษะภาวะผู้นำด้าน Soft Skills ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 38(2), 88-95.
Beers, S.Z. (2012). 21st century skills: Preparing students for their future. (STEM)
www.mheonline.com/mhmymath/pdf/21st_century_skills.pdf (Downloaded
Jacinto and Caleste, (2021). The Soft Skills of Special Education Teachers: Evidence
from Literature. Education Science. 11(3), 125-141.
Paige, J. (2009). The 21st Century Skills Movement. Educational Leadership, 9(67).
Rotherham, A. J., & Willingham, D. (2009). 21st Century Skills: The Challenges
Ahead. Educational Leadership, 67(1).