การบริหารโครงการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับการพัฒนาทักษะการตั้งสมมติฐานและการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

มณฑา จำปาเหลือง
เมธา ขันเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ บริหารโครงการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับการพัฒนาทักษะการตั้งสมมติฐานและการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย      4 ขั้นตอน ดังนี้ 1)การเริ่มต้นโครงการ 2)การจัดองค์กรและการเตรียมการ 3)การดำเนินโครงการ และ 4)การประเมินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 79 คน โรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1)การเริ่มต้นโครงการ พบว่า องค์ประกอบของโครงการ ได้แก่ เป้าหมาย ขั้นตอนดำเนินโครงการ งบประมาณ และเวลาที่ใช้ ซึ่งครูวิทยาศาสตร์ร่วมกันจัดทำ 2)การจัดองค์กรและการเตรียมการ พบว่า แผนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับการพัฒนาทักษะการตั้งสมมติฐานและการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ มีจำนวน 5 แผน รวม 15 ชั่วโมง และแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน มีจำนวน 20 ข้อ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งครูวิทยาศาสตร์ร่วมกันจัดทำ 3)การดำเนินโครงการ พบว่า ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ตามแผนการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4)การประเมินโครงการ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนจำแนกรายทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

เกศแก้ว นาทองคำ และทัศนีย์ นาคุณทรง. (2565). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(3): 979-992.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัตติกา สกุลสวน ภารดี อนันต์นาวี และมนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). รูปแบบการนิเทศแนวใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 9(1): 85-101.

จันทร์ทิพย์ มีแสงพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสตีมผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นพดล มะโนลัย นุกูล กุดแถลง และเนตรชนก จันทร์สว่าง. (2559). การจัดสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. 30-31 มีนาคม 2559. หน้า 110-119.

นรัตน์ชนก โสภา ถาดทอง ปานศุภวัชร และนิติธาร ชูทรัพย์. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ (5Es) เรื่อง พลังงานแสง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(29): 111-119.

ปราณี โตยะบุตร. (2557). การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก.

มลิวัลย์ จันทร์บาง. (2565). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันทนา งาเนียม และพรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 55-67.

สักดิ์สิวรรณ ทรงสิริวรกุล. (2561). การบริหารโครงการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำนาจ เกษศรีไพร และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(2): 318-331.

Stanley, E. Portny. (2010). Project Management for Dummies, (3rd ed.). Canada: Wiley Publishing, Inc.