การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ

Main Article Content

นัสรียา บิลเต๊ะ
เก็ตถวา บุญปราการ
ชุติมา ทัศโร

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริงระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน โรงเรียนกัลยาณชนรังสรรค์มูลนิธิ มัสยิดบ้านเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง (AR) โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการs(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ปัญจรัตน์ ทับเปีย. (2555). การพัฒนาชุดสื่อประสมแบบโลกเสมือนผสานโลกจริง เรื่องโครงสร้างและการทำงานของหัวใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร, กรุงเทพฯ

ปิยะภรณ์ นวลเจริญ. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้เทคนิคช่วยจำเพื่อส่งเสริมการอ่านเรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ