ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายว่าด้วยการบังคับให้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565

Main Article Content

ป้อมฤดี กุมพันธ์ คริสตี้
ศิริเพ็ญ จันทร์นิยม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสาร และศึกษาถึงกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้โดยสารเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายเรื่องที่นั่งของผู้โดยสารเด็กในรถโดยสารส่วนบุคคล 2) เพื่อวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ประกอบกับการวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศพร้อมสรุปเสนอแนะถึงแนวทางในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับที่นั่งของผู้โดยสารเด็กให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยดำเนินการศึกษาจากวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น หนังสือ บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ งานวิจัยกฎหมายภายในและกฎหมายต่างประเทศ เช่น กฎจราจรฉบับที่ 1998:1276 ของราชอาณาจักรสวีเดน, พระราชบัญญัติจราจรทางบก บทที่ 276 ของประเทศสิงคโปร์ และพระราชบัญญัติสาธารณรัฐฉบับที่ 11229 ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ฯลฯ ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า 1) กฎหมายเรื่องที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กของต่างประเทศที่ผู้วิจัยทำการศึกษา กำหนดกฎหมายไว้โดยเงื่อนไขสรีระของเด็กเป็นหลักแตกต่างจากกฎหมายไทยที่กำหนดกฎหมายโดยใช้เงื่อนไขของอายุเด็ก 2) ผู้ขับจะต้องจัดให้มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กขณะโดยสารในรถยนต์โดยไม่อาจใช้วิธีอื่นทดแทนได้ เว้นแต่เด็กนั้นมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ต่างจากกฎหมายไทยที่ให้ใช้วิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแทนการใช้ที่นั่งนิรภัยหรือที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กได้ จากการศึกษาวิจัยจึงเกิดข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไข เพิ่มเติม และยกเลิกความบางส่วนในพระราชบัญญัติจราจรทางบกและประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่องการกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2566 อันจะทำให้กฎหมายมีความชัดเจน มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะใช้เป็นเครื่องมือเพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้โดยสารเด็กลงได้อย่างแท้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ของการตรากฎหมาย

Article Details

บท
Research Articles

References

_______. (2522) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

_______. (2565) พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565

_______. (2566) ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย และวิธีการป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2566

_______. (1988) Road Traffic Act 1988

_______. (1998) Trafikförordning (1998:1276)

_______. (2011) ROAD TRAFFIC ACT (CHAPTER 276) ROAD TRAFFIC (MOTOR VEHICLES, WEARING OF SEAT BELTS) RULES 2011

_______. (2019) REPUBLIC ACT No. 11229

Gov.uk, Child car seats: the law. https://www.gov.uk/child-car-seats-the-rules (Retrieved December 15, 2023).

Mateja Rok Simon Using the Haddon Matrix to Identify Strategies to Prevent Playground Injuries http://www.play grounds.uokik.gov.pl/download/en_matrix.pdf. (Retrieved December 20, 2019).

MINISTRY OF TRANSPORT MALAYSIA Child Car Seat Safety https://www.mot.gov.my/en/land/safety/child-car-seat-safety. (Retrieved December 25, 2023).

Nationella trafiksäkerhetsförbundet NTF. Traffic safety for new parents. https://ntf.se/media/36400/smabarnsforaldrar _160920_engelska.pdf page 3. (Retrieved December 25, 2023).

Road Safety Authority (2016) Child Safety in Cars a Guide to Driving Safely with Children on Board. https://www.rsa.ie/docs/default-source/road-safety/r1.15-passengers/child-safety-in-cars-booklet--- feb-2016.pdf?sfvrsn=2946e32a_5 (Retrieved January 30, 2023).

World Health Organization (WHO) New global guidelines to boost the use of life-saving safety restraints in vehicles. https://www.who.int/news/item/06-03-2023-new-global-guidelines-to-boost-the-use-of-life-saving-safety-restraints-in-vehicles23#:~:text=Seat%2Dbelts%20have%20saved%20more,

to%2071%25%20among%20younger%20infants. (Retrieved January 6, 2024).