แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1

Main Article Content

กรวิภา ลาล้ำ
ธรินธร นามวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู รวมจำนวน 247 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบ 2 แห่ง จำนวน 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เรียงลำดับตามค่าดัชนีจากมากไปน้อย คือ ลำดับแรก ด้านการแสดงบทบาทผู้นำและผู้ตามในโอกาสที่เหมาะสม รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือ สนับสนุนและเข้าใจซึ่งกันและกัน และด้านการกำหนดเป้าหมายและหลักปฏิบัติในการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 27 แนวทาง ผลการประเมินแนวทาง พบว่า แนวทางมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

Article Details

บท
Research Articles

References

กัญญารัตน์ เป็งใจ. (2560). การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของบุคลากร ในโรงเรียนขยาย

โอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2549). การบริหารงานงบประมาณ หลักทฤษฎีและวิเคราะห์เชิง

ปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เอมเทรดดิ้ง.

ปิยพงษ์ พาเรือง. (2563). การศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี.

พงศ์ณภัทร นันศิริ. (2562). สภาพและแนวทางในการสร้างทีมงาน ของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จังหวัดสุโขทัย.

วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพโรจน์ บาลัน. (2551). ทักษะการบริหารทีม. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพรินท์.

ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2561). พื้นฐานการวิจัยทาง

การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ลดาวัลย์ พุทธวัช. (2560). การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานครูสำหรับสถานศึกษาในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษา

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

วีรดนย์ หอมทอง. (2561). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงาน

เป็นทีมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25.

วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนา

การศึกษา มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหาร

ทรัพยากร มนุษย์. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2563. จาก http://ocsc.go.th/

veform/PDF/conpetency.