การพัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านมั่นคงเกาะสมุย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านมั่นคงเกาะสมุย มีวัตถุประสงค์ การวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านมั่นคงเกาะสมุย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตโครงการบ้านมั่นคงภายใต้มาตรการของภาครัฐในด้านมีส่วนร่วม ทรัพยากร การบริหารจัดการ บุคลากรในการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโครงการบ้านมั่นคงเกาะสมุย 2) เพื่อพัฒนาผลของโครงการบ้านมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยที่มีต่อการดำเนินงาน และกระบวนการ การมีส่วนร่วมของการมีคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ 3) เพื่อสำรวจและประเมินระดับการพัฒนาพื้นที่และการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้วิจัยได้พัฒนาโมเดลของการพัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านมั่นคงเกาะสมุย ผู้วิจัยจึงกำหนดวิธีการการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพหรือแบบผสมผสาน (Mixed Method) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ในบ้านมั่นเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 363 คน และเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 24 คน ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตโครงการบ้านมั่นคง ด้านสุขภาพอนามัย (X̅ = 3.61, SD. =1.09 ) ด้านที่อยู่อาศัย ( X̅= 3.69, SD. =1.08 ) ด้านสิ่งแวดล้อม ( X̅= 3.64, SD. =1.02) ด้านการศึกษา ( X̅= 3.66, SD.=1.11) ด้านความปลอดภัยของสาธารณะ ( X̅= 3.86, SD. =082) ด้านวัฒนธรรม (X̅ = 3.61, SD. =1.08) ด้านการจ้างงาน และชีวิตการทำงาน (X̅ = 3.69, SD. =1.08) ด้านสวัสดิการสังคม ( X̅= 3.78, SD. =1.04) โครงการบ้านมั่นคง เป็นที่อยู่อาศัยที่มีการดำเนินงาน และกระบวนการ การมีส่วนร่วมของการมีคุณภาพชีวิต “เป็นความสามารถและศักยภาพภายในชุมชน ในการปรับตัวที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ภายใน โดยเน้นการกำกับดูแลที่ดี การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงของสังคม และประโยชน์ร่วมกันกับสังคม เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบทั้งในปัจจุบันและอนาคต 1) แนวทางการบริหารงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านมั่นคงในมุมมองที่ได้จากการสัมภาษณ์ การบริหารงานทั้งทางด้านการมีส่วนร่วม ด้านทรัพยากร ด้านการจัดการชุมชน ด้านบุคลากร โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ 3 ประการ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตในโครงการบ้านมั่นคงเกาะสมุย การดำเนินงานในปัจจุบัน โดยเฉพาะประชาชนเมื่อมีที่อยู่อาศัยแล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต มาใช้ในชุมชน เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตเป็นที่การยอมรับของสังคมและให้ได้มาซึ่ง สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม การศึกษา ความปลอดภัยของสาธารณะ วัฒนธรรม การจ้างงาน และชีวิตการทำงาน สวัสดิการสังคม และเป็นเรื่องของความสมัครใจ หรือเกิดจากความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนได้ในระยะยาว
Article Details
References
กนกรัตน์ กิตติวิวัฒน์. (2550). ทุนทางสังคมในชุมชนเมือง: การปะทะประสานระหว่างทุนเก่าและทุนใหม่ในภาวะวิกฤติ. วารสารวิจัยสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 35(5),1-38.
กิตติ สัจจาวัฒนา. (2554). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2557). การพัฒนาคนเพื่ออนาคตประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท. (2559). คู่มือการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท และด้านความมั่นคง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย, สำนักงาน. (2550). รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2550: เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2561). ประเทศไทย: ก้าวไปข้างหน้าด้วยการพัฒนาที่สมดุล.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). เศรษฐกิจพอเพียง ลำดับที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร Conflict management. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. 2550.
ณัชวิชญ์ ติกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบชุมชนและที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ : กรณีศึกษาน้ำท่วม. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ทนงศักดิ์ ใจสบาย. (2552). เมืองน่าอยู่ โดยความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคม และสุขภาวะตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครพนม. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ทรงศักดิ์ ปัญญา. (2552). การมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน – ท้องถิ่นสนับสนุนการวิจัย.
ทิพาพร พิมพิสุทธิ์ และคณะ. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมบริเวณลุ่มน้ำปิง จ.ตาก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน . กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
African Union. (2014). Common African Position (CAP) on the post-2015 Development Agenda. Addis Ababa: African Union.
ASEAN Information Center. (2016). Between the people-oriented and peoplecentered ASEAN Community? [Online]. Available from: http://www.aseanthai.net/english/ewt_news.php?nid=1005&filename=index.
ASEAN Secretariat. (2008). ASEAN Economic Community Blueprint. Jakarta: ASEAN Secretariat.
ASEAN Secretariat. (2009a). ASEAN Political-Security Community Blueprint. Jakarta: ASEAN Secretariat.