การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

นารีรัตน์ ศรีหล้า

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริก การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริก และศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์น้ำพริก บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผลิตน้ำพริกบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในการสัมภาษณ์จำนวน 5 คน และการสนทนากลุ่มจำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันชุมชนมีการผลิตน้ำพริกตาแดงและน้ำพริกปลาร้า เพื่อจำหน่ายที่วัดพระธาตุสุพรรณหงส์ ตลาดนัดถนนคนเดิน และตามคำสั่งซื้อทางออนไลน์ ขายราคา 20 บาท ราคา 50 บาท และราคา 100 บาท ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์พบว่า ชุมชนมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกให้มีความหลากหลาย มีรสชาติดี มีคุณภาพ เน้นการใช้วัตถุดิบในชุมชนและมีส่วนผสมของปลาแม่น้ำมูล มีความเป็นเอกลักษณ์ และสะท้อนถึงวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ซึ่งน้ำพริกที่ชุมชนต้องการพัฒนาคือ น้ำพริกนรกปลาแม่น้ำมูล ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกนรกปลาแม่น้ำมูล จึงให้ความสำคัญด้านคุณค่าทางโภชนาการ ด้านรสชาติ ด้านวัตถุดิบ และด้านความเป็นเอกลักษณ์ โดยทำการศึกษาและพัฒนาน้ำพริกนรกปลาแม่น้ำมูลจากการใช้วัตถุดิบในชุมชน เช่น พริก หอม กระเทียม และใช้ปลาขาวแม่น้ำมูลเป็นส่วนผสมจำนวน 3 สูตร ซึ่งชุมชนได้คัดเลือกสูตรที่มีความเผ็ดระดับปานกลาง รสชาติจัดจ้าน กลมกล่อม เพื่อผลิตและจำหน่ายเป็นสินค้าประจำชุมชน อนึ่ง จากการระดมความคิดเห็นเพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคาขาย และวางแผนกำไรใช้รูปแบบการคำนวณทางการบัญชี พบว่า ต้นทุนการผลิตมีดังนี้ 1) ต้นทุนการผลิตน้ำพริกนรกปลาแม่น้ำมูล โดยการผลิต 1 ครั้ง มีต้นทุนการผลิต 815 บาท ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง 560 บาท ค่าแรงงานทางตรง 200 บาท และค่าใช้จ่ายการผลิต 55 บาท ได้ปริมาณน้ำพริก 3,700 กรัม ต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 0.22 บาทต่อกรัม และ 2) ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ ดังนั้น ต้นทุนการผลิตน้ำพริกนรกปลาแม่น้ำมูลที่บรรจุกระปุกพลาสติก 3 ออนซ์ เท่ากับ 11.90 บาท ขวดโหลพลาสติก 240 มล. เท่ากับ 35.80 บาท และขวดโหลพลาสติก 400 มล. เท่ากับ 62.80 บาท สำหรับราคาขายกำหนดจากต้นทุนการผลิตต่อหน่วยบวกกำไรที่ต้องการซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1) กรณีขายตามคำสั่งซื้อกำหนดกำไรร้อยละ 30 และ 2) กรณีขายปลีกกำหนดกำไรร้อยละ 50

Article Details

บท
Research Articles

References

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัด

เพชรบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธันยพงศ์ สารรัตน์. (2561). ความสำคัญของห้วยสำราญในบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่างที่มีต่อ

เมืองศรีสะเกษ. วารสารมนุษย์กับสังคมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, (2)2, 7-25.

นิจกานต์ หนูอุไร (2565). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ปลาสามน้ำแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทาง

เศรษฐกิจ ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสาร

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(1),

-15.

เบญจมาศ ดีวงษ์ และอริศราวรรณ นิยมรัตน์จรูญ. (2563) . การพัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐาน

ทรัพยากรชุมชน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 12(1), 1-15.

ปารมี ชุมศรี. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกมะขามเสริมปลาดุกร้า. วารสารสมาคม

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพ

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 5(2), 5-25.

พยุงศักดิ์ มะโนชัย และคณะ. (2563). การพัฒนาน้ำพริกพื้นบ้านเพื่อเป็นอาหารสุขภาพ.

วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 4(2), 50-59.

รลินดา คูเวน. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกแคบหมูเพื่อสุขภาพ. วิทยานิพนธ์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเสริมแคลเซียมสูงจากก้างปลานิล

สำหรับชุมชนบางระกำ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 5(3), 67-83.

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ.(2552). ความจริงเรื่องจีเอ็มโอ มายาคติการผูกขาดและคอรัปชั่นใน

นามของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชีววิถี.

ศรีเวียง ทิพกานนท์ และวรรณทิชา ลาภศิริ (2550). พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำพริก

ในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารเกษตรนเรศวร. 10(1), 1-15.

สิริมนต์ ชายเกตุ และคณะ (2553). การบริโภคน้ำพริกของผู้บริโภคกรุงเทพนคร. วารสาร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2(3),

(3), 64-79.

อภิญญา จันทะหาร. (2551). ธุรกิจกลุ่มทอเสื่อกก บ้านหนองไม้ตาย ตำบลดอนเงิน อำเภอ

เชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น:

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรวรรณ ปลอดภัย, ชาญเดช หมวดภักดี, ธีรนันท์ เขตต์รัตน์, จุฑารัตน์ มัคราช, อนุวัฒน์ คำ

สีสุข. (2564). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อการแปรรูปผลผลิตและเพิ่ม

มูลค่าน้ำพริกนรกปลาดุก ตําบล คลองฉนวน อําเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน. 2(2), 39-50.