นวัตกรรมการตลาดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของแซวผ้าไหมศรีสะเกษ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

Main Article Content

ชูเกียรติ พงศ์พนาพิพัฒน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนวัตกรรมการตลาดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของแซวผ้าไหม                  ศรีสะเกษ เพื่อสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมการตลาดที่ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ศึกษาองค์ประกอบด้านนวัตกรรมการตลาดที่ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ของแซวผ้าไหมศรีสะเกษและทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างคือผู้ซื้อสินค้าที่ผลิตจากชุมชนศรีสะเกษ เป็นผลิตภัณฑ์จากการแซวผ้าศรีสะเกษ จำนวน 400 ตัวอย่างและการสัมภาษณ์กลุ่มข้าราชการ หัวหน้าส่วนราชการ นักวิชาการ พัฒนาชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้ประกอบการ 15 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการตลาดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของแซวผ้าไหมศรีสะเกษ พบว่า ระดับของนวัตกรรมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก ในเรื่องความสามารถหลักทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานพื้นฐานทางการจัดการเป็นหนึ่งเดียว ความต้องการของลูกค้าจินตนาการ การวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และการจัดการที่เป็นเลิศ ระดับของความได้เปรียบในการแข่งขัน อยู่ในระดับมาก ในเรื่องการสร้างความแตกต่าง การเป็นผู้นำด้านต้นทุน การตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการมุ่งเฉพาะส่วน ระดับของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อยู่ในระดับมาก ในเรื่องการลดต้นทุน การเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์การจัดจำหน่าย และการจัดการองค์กร 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมการตลาดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของแซวผ้าไหมศรีสะเกษ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามสมมติฐานการวิจัย มีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูล ซึ่งโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังค่าสถิติ Chi-square (χ2) = .032, GFI = .960, CFI = .995, AGFI = .936, NFI = .980 และ RMSEA = .034 และ 3) การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ของแซวผ้าไหมศรีสะเกษ มีองค์ประกอบของนวัตกรรมทางการตลาด 6 ด้าน คือ ความสามารถหลักทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานพื้นฐานทางการจัดการเป็นหนึ่งเดียว การวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ความต้องการของลูกค้า การจินตนาการ และการจัดการที่เป็นเลิศ

Article Details

บท
Research Articles

References

นันทสารี สุขโต. (2557). การตลาดระดับโลก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). การสำรวจภาวะ

เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก

http://www.nso.go.th/sites/2014/

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานดัชนี

ความก้าวหน้าของคน ประจำปี 2562 . สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก

http://social.nesdc.go.th/social/Default.aspx?tabid=126&articleType=Arti

cleView&articleId=229/