รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลสู่โรงเรียนประถมศึกษา : บทบาทของผู้ปกครอง

Main Article Content

อุบล ผลจันทน์
จุตินันท์ โตอ้น

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งของโลก ซึ่งในโลกปัจจุบันกำลังอยู่ในยุคของเทคโนโลยีและข่าวสารข้อมูล ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ทำให้ประเทศต่างๆ ในโลกได้รับกระแสวัฒนธรรมข้ามชาติ การติดต่อทางธุรกิจ เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของประเทศต่างๆ ในโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประเทศไทยก็เช่นกัน เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของโลก และกำหนดทิศทางและสภาพสังคมที่พึงปรารถนาของประเทศของเรา และพิจารณาถึงคุณลักษณะของเด็กไทยของเราที่จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในอนาคต เป็นการช่วยเตรียมให้เขาเป็นประชากรที่มีคุณภาพในสังคมนั้น โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2569)


 การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย เป็นการปูพื้นฐานและการวางรากฐานทางการศึกษาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อเด็กเติบโตขึ้นเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพของสังคมด้านการศึกษา เด็กปฐมวัยถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการวางรากฐานการพัฒนาในทุกด้าน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะสมองมีการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด หากเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดู และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 21 เด็กปฐมวัยควรได้รับการปลูกฝังและเชื่อมต่อทางการศึกษาให้มีทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทักษะการเรียนรู้เท่าทันสารสนเทศ การรู้เท่าทันสากลสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ รู้จักยับยั้งชั่งใจและมีทักษะชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ พื้นฐานและความสำคัญที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนต้องอาศัยบทบาทของผู้ปกครองคือการอบรมเลี้ยงดูที่อยู่ภายใต้บริบทของสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
Articles

References

นิติธร ปิลวาสน์. (2556). การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments). สื่อ

ออนไลน์ : www. taamkru.com

พัชรัตน ลออปกษา (2561) บทบาทของผูปกครองในการสรางรอยเชื่อมตอทางการศึกษาจาก

โรงเรียนอนุบาลสูโรงเรียนประถมศึกษา วิทยานิพนธระดับปริญญามหาบัณฑิตทาง

การศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565. จาก

https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan 13

คูมือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สําหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ป. สํานักวิชาการ

และมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ พิมพครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตร

แห่งประเทศไทย จํากัด

Commonwealth of Australia.2013. Code of Practice and Guideline at :

http://www. Commercial. Com.ac/getatlachment/legel Regulation

codes/ commercial-Radio-code-Guidelines-september- 2013, November

Chowa, Masa, & Turkey, 2014 for Early Childhood Development and

Education Síolta, The National Quality Framework for Early Childhood

Education. Dublin: CECDE