การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 คน ที่ได้เข้าอบรม ในโครงการการพัฒนาสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ใช้อัตราส่วนการสุ่มกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30 ได้มาโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ
ผลการวิจัยพบว่าผลศึกษาและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.44, S.D. = 0.52) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด โดยด้านที่ 1 การวางแผนนำรูปแบบ PLC ไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.49, S.D. = 0.53) ด้านที่ 2 การวางแผนและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X̅= 3.90, S.D. = 0.76) ด้านที่ 3 การดำเนินการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X̅= 4.45, S.D. = 0.64) ด้านที่ 4 บุคลิกภาพความเป็นครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( X̅= 4.63, S.D. = 0.38) และด้านที่ 5 การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.72, S.D. = 0.22) ซึ่งผลการประเมินสมรรถนะสอดคล้องกับผลการสังเกตและมีส่วนร่วมของผู้วิจัยที่สังเกตได้จากการร่วมกิจกรรม
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด. จากhttp://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช. (2553). สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์ นําไปสู่การจัดการเรียนรู้ของ ครูยุคใหม่. อักษรเจริญทัศน์.
ชิตาพร เอี่ยมสะอาด และสมเจตน์ ผิวทองงาม. (2563). การยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ PLC กรณีศึกษา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. พัฒนวารสาร, 7(1), 267-279.
ชุลีพร สุระโชติ ปริญญา ทองสอน และ สมสิริ สิงห์ลพ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC). วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 272-285.
พิรุฬห์พร แสนแพง และพงศ์เทพ จิระโร. (2563). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 138-146.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/
view/3121
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมินการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ PISA 2018. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). การศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษ ที่ 21. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. จาก http://www.onec.go.th/
onec_web/page.php?mod=Book&file=view&itemId=1316.
สุพรรณิการ์ ชนะนิล, และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2565). PLC ดีจริงหรือกับการพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 68-81.
Neuman, W.L. (1991) Social Research Methods : Qualitative and Quantitative Approaches. Boston : Allyn and Bacon.