พฤติกรรมผู้บริโภคและองค์ประกอบเว็บไซด์ (7C) ที่ส่งผลต่อการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลผ่านช่องทางออนไลน์

Main Article Content

เพ็ญสุข เกตุมณี
ชุติมา หวังเบ็ญหมัด
ยรรยง คชรัตน์
นิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี
วัชรี พืชผล
พระวัชรพงศ์ สมณกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์ (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบเว็บไซต์ (7C) ที่ส่งผลต่อการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ในการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลผ่านทางออนไลน์ 200 ตัวอย่าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ได้แก่ ผู้บริโภคที่เคยเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลผ่านทางออนไลน์ จํานวน 10 ราย  เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประเภทพระเครื่องและวัตถุมงคล ลักษณะพระเครื่องและวัตถุมงคลที่กลุ่มนิยมเช่าซื้อมากที่สุด ได้แก่ พระสมเด็จ เป็นพระเครื่องเนื้อผง เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่เลือกเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์    คือ หาข้อมูลได้ง่าย จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดในการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์ คือเพื่อคุ้มครองป้องกันอันตรายต่าง ๆ รองลงมาคือยึดเหนี่ยวจิตใจ บุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์คือ เพื่อน จำนวนพระเครื่องและวัตถุมงคลโดยเฉลี่ยที่เช่าออนไลน์ 1 องค์/เดือน จํานวนเงินในการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์ 500 – 1000 บาท ความถี่ในการเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์ 1 ครั้ง/เดือน การเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมตรงตามความต้องการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ด้านองค์ประกอบเว็บไซด์ (7C) งานวิจัยชิ้นนี้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นแนวทางในการสร้างหรือปรับปรุงเว็บไซต์ ให้ตรงตามความต้องการของผู้ที่เช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลออนไลน์

Article Details

บท
Research Articles

References

การตลาดเงินล้าน (2567) ทิศทางตลาดพระเครื่องในไทยโตต่อเนื่อง. Retrieved from

https://www.youtube.com/watch?v=nC1saAnqRew

ธมนวรรณ แจ่มจำรัส, วรารัตน์ ดาวสนั่น, ประยงค์ จันทร์แดง (2563). ธุรกิจพระเครื่อง

ออนไลน์กับวิถีความเชื่อในยุค 4.0. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 6(1), มกราคม –

เมษายน, 69 – 83.

วรธนัท อชิรธานนท์, (2564). พลังความเชื่อและความศรัทธาในวัตถุมงคลสู่เครื่องประดับและอัญ

มณี. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์. 2(3), เดือน กันยายน-ธันวาคม, 50 -61.

วัชรพงษ์ กงเวียน (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร ในการบูชาวัตถุมงคล.

การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกจิมหาบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (2567). พระเครื่อง Soft Power ไทย กับตลาดในปี 2567.

Retrieved from http://thainews.prd.go.th.

อภินันท์ จันตะนี2559 เศรษฐกิจพระเครื่องเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ

วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (1) มกราคม-เมษายน, 94 –105.