คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างนักบัญชีที่ปฏิบัติงานให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลของนักบัญชีในจังหวัดปทุมธานีโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดปทุมธานีโดยรวม อยู่ในระดับมาก และ 3) ด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และด้านภาษาอังกฤษ มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กมลภู สันทะจักร์. (2560). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กษมาพร ยังส้มป่อย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จารุวรรณ แซ่เต้า ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ และวราพร เปรมพาณิชย์นุกูล. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3(5), 21-35.
จิตติมา ขำดำ, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสำนักงานอัยการสูงสุด.วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.
ดิชพงศ์ พงศ์พัชรชัย. (2559). แนวทางการส่งหนังสือยืนยันยอดในยุคไทยแลนด์ 4.0. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :http://www.fap.or.th/upload/9414/yPGFvo5bMM.pdf.
ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 89-101.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2564). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปิยพงศ์ ประไพศรี และกาญจนา นันทพันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12). 421 – 435.
พิชญุตม์ ภาศักดี. (2563). คุณสมบัติของบัญชียุคใหม่ที่มีผลต่อการคัดเลือกรับนักบัญชีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: หาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
มนัสภรณ์ วังแวว และ อัศนีย์ ณ น่าน. (2566). คุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ของนักบัญชีสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(1), 183-196.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2559). การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. เข้าถึงจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/67987.
สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สรัชนุช บุญวุฒิ, ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2559). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.mgts.lpru.ac.th/ journal/index.php/mgts/article/download/279/117 [2017, December 15].
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). นักบัญชีที่ปฏิบัติงานให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จังหวัดปทุมธานี. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.sme.go.th/.
สุดธิดา การด และศิริเดช คำสุพรหม. (2562) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ของสถานประกอบการในจังหวัดเลย. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Hunton, J. E. (2015). The Impact of Digital Technology on Accounting Behavioral Research. Advances in Accounting Behavioral Research. Vol. 5, DOI: 10.1016/S1474-7979(02)05035-4.