การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดรูปแบบห้องเรียนพลศึกษาระหว่างนักเรียนระดับประถมศึกษากับระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

สิรภพ สารมิตร
ธิรตา ภาสะวณิช

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อรูปแบบห้องเรียนสำหรับการเรียนรู้พลศึกษา ในนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 346 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบโควต้า (Quota sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการจัดห้องเรียน (การจัดห้องเรียนแถวตอนลึก / การจัดห้องเรียนแถวหน้ากระดาน / การจัดห้องเรียนแถววงกลม / การจัดห้องเรียนแบบ U / การจัดห้องเรียนแบบครูอยู่สูงกว่านักเรียน และ การจัดห้องเรียนแบบนักเรียนอยู่สูงกว่าครู) และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบห้องเรียนสำหรับการเรียนรู้พลศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาค่าความตรงเชิงพินิจ (Face Validity) และความเชื่อมั่น (r = 0.90) จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลทั่วไปด้วยการหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (Standard Deviation) และการเปรียบเทียบความพึงพอใจการใช้รูปแบบการจัดห้องเรียนจำแนกตามระดับการศึกษา ด้วยสถิติการทดสอบเป็นรายคู่ (Paired t-test) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษาความพึงพอใจในการเลือกรูปแบบการจัดห้องเรียนพลศึกษา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจเรียงลำดับได้ดังนี้ 1) แบบแถวตอนลึก (M = 3.30, SD. = 1.37) 2) แบบหน้ากระดาน (M = 3.27, SD. = 1.25) 3) แบบตัวยู (M = 3.16, SD. = 1.48) 4) แบบวงกลม (M = 3.11, SD. = 1.44) 5) แบบครูอยู่ระดับต่ำกว่านักเรียน (M = 1.30, SD. = 1.55) 6) และแบบครูอยู่ระดับสูงกว่านักเรียน (M = 0.88, SD. = 1.09)

  2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเลือกรูปแบบการจัดห้องเรียนพลศึกษา จำแนกตามรูปแบบ พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ (ร่าง) ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2566 – 2570). [ออนไลน์] วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2566 สืบค้นจาก: https://www.dpe.go.th/strategic-preview-451191791792.

โครงการโรงเรียนรักษาศีล 5. (2563). ห้องเรียนแห่งการเรียนรู้. [ออนไลน์] วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2566 สืบค้นจาก: https://www.sila5.com/blog/blog/detail/var/44s2e4

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญสม มาร์ติน. (2508). ปรัชญาพลศึกษา อ้างถึงใน พงษ์ศักดิ์ พละพงศ์. (2527). ประวัติ- ปรัชญาและหลักการพลศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สุทธิชัย หมั่นเขตรกิจ. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. [ออนไลน์] วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2566 สืบค้นจาก: file:///C:/Users/seenam/Downloads/AC45AB451CAC4168378CF924 BE0E523D7AFE7686_1.%20%วิจัยการจัดห้องคอม.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566– 2570). [ออนไลน์] วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2566 สืบค้นจาก: https://www.nesdc.go.th/.

อนุกูล นิยมถิ่น. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่ายน้ำโดยใช้รูปแบบการสอนพลศึกษา 5 ขั้นและรูปแบบการสอนสมองเป็นฐานที่มีผลต่อทักษะการสร้าง ความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.) 2 (3) : ก.ย. - ธ.ค. 2557

อรทัย วงค์คำ. (2563). กระบวนการจัดการเรียนการสอนของพลศึกษา. [ออนไลน์] วันที่สืบค้น 1 สิงหาคม 2566 สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/orathaieducation /hlaksutr-phlsuksa/krabwnkar-cadkarreiyn-kar-sxn-khxng-phlsuksa

Bruner, J. (1960). The process of education. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Bloom, B. S. (1964). Taxonomy of Education Objectives, Handbook 1: Cognitive

Domain.New York: David Mackey.

Erikson, E. (1950). Psycho Theory of Personality. Childhood and society (1st ed.)

New York: Norton.

Havighurst, R. J. (1972). Developmental tasks and education (3rd edition). New York:

Mckay.

Hebb, D. (1949). The Organization of Behavior: A Neuropsychological Theory.

Krejcie,R. V.,& Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research

Activities”, Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Hunt, J. M. (1961). Intelligence and experience. New York: Ronald Press.