การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย

Main Article Content

อติพร เกิดเรือง
ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล

บทคัดย่อ

การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) เป็นการกำหนดพื้นที่เฉพาะเพื่อประโยชน์ทางด้านการค้าและการลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำหนด เพื่อกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่างๆ ไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป้าหมายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ 1) เพื่อดึงดูดให้เกิดการสร้างงานในเขตเศรษฐกิจ 2) สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ อันก่อให้เกิดรูปแบบเชิงบวกในด้านเศรษฐกิจ โดยการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูปเศรษฐกิจ เป็นต้น และ 3) สร้างความมั่นใจทางเศรษฐกิจ อันเป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยอาศัยกลไกความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน สำหรับกระบวนการพัฒนาขับเคลื่อนนโยบายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยนั้น จำแนกเป็น 4 ภาคส่วน ได้แก่ 1) ภาครัฐบาล  2) ภาคเอกชน 3) ภาคประชาชนในพื้นที่ และ 4) ภาคหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเขตเศรษฐกิจ โดยมีรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย 1) รูปแบบกิจกรรมด้านการผลิต (Manufacturing) 2) รูปแบบกิจกรรมด้านการค้า (Trade and Logistics) และ 3) รูปแบบกิจกรรมด้านการพัฒนาท่องเที่ยว (Tourism Development) การตรวจสอบผลของการพัฒนาขับเคลื่อนในเชิงนโยบายของการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ได้กำหนดไว้ 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2) การพัฒนาโครงการด้านสังคม สาธารณสุข แรงงาน/ผู้ประกอบการ และการเพิ่มศักยภาพกลไกในพื้นที่ 3) การพัฒนาการลงทุน และ 4) มาตรการส่งเสริมการลงทุน

Article Details

บท
Articles

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การศึกษาความเหมาะสมโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด. เข้าถึงได้จาก http://www. acmecsthai.org/ web/16.php?id=19883

หอการค้าไทย. (2667). มุมมองหอการค้า: การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ. กรุงเทพฯ: หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2667). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ: นโยบายการขับเคลื่อนและเป้าหมาย. กรุงเทพฯ: เอกสารเผยแพร่การสัมมนา”บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 โรงแรมอัสวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ.

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2557). รายงานการวิจัย แนวทางและมาตรการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่แนวชายแดนของไทย. กรุงเทพฯ: www.itd.or.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2567). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา.

อติพร เกิดเรือง. (2561). หลักการประเมินผลนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

World Bank. (2011). Special Economic Zones: What Have We Learned? เข้าถึงได้จาก http://siteresources.worldbank.org/INTPREMNET/Resources/EP64.pdf เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2559

World Bank. (2011). Special Economic Zones Progress, Emerging Challenges, and Future Directions.