การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนารูปแบบของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 (2) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 (3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 (4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20-0.60 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เฉลิมชัย กาญจนคเชนทร์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในรายวิชาชีววิทยา ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,กรุงเทพมหานคร.
ชบา เมืองจีน. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง.วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16 (2), 83-93.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ และ ภัทรพร สุทธิรัตน์. (2567). Active Learning : มโนทัศน์ วิธีการ และเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 1).พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
ดนิตา ดวงวิไล.(2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) . วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(2) , 417- 426.
ทิศนา แขมมณี.(2566). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาพร สายผัน และ สุมาลี ชูกำแพง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชื่อมโยงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(2), 95-106.
พรทิพย์ ดิษฐปัญญา และ สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2563).ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความมั่นใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 24-41.
พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฒโน และวิทยา ทองดี. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 967-976.
พัชรี นาคผง.(2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
พิมพ์พร ภิญโญ.(2565).การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
มารีแย เจะยะปาร์ .(2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ระบบภายในร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
ศิริชัย รุจิดามพ์ และคณะ. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ชีววิทยาและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก เรื่อง ฮอร์โมนพืช.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ,23(3),301-314.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.(2565).บทสรุปผู้บริหารผลการวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2565 เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/
สาริญา และสุม .(2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Bara, G. & Xhomara N. (2020).The Effect of Student-Centered Teaching and Problem-Based Learning on Academic Achievement in Science. Journal of Turkish Science Education,17(2),180-199.
Fitriani, A., Zubaidah, S., Susilo, H., Al Muhdhar, M.H.I. (2020).The Effects of Integrated Problem-Based Learning, Predict, Observe, Explain on Problem-Solving Skills and Self-Efficacy. Eurasian Journal of Educational Research,n85, 45-64.