การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และความฉลาดทางอารมณ์ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้าน ของเด็กอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

ธิดารัตน์ เสวตวงศ์
ยุพิน ยืนยง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่หลังการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้าน ของเด็กอนุบาลปีที่ 3
และ 2) ศึกษาพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์หลังใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้าน ของเด็กอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนบ้านย่านซื่อ จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 7 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วย


สุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่หลังการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้าน ของเด็กอนุบาลปีที่ 3 และ 2) ศึกษาพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์หลังใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของ
เดวีส์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้าน ของเด็กอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านย่านซื่อ จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 7 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ของเด็กอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 8 แผน 2) แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ จำนวน 1 ฉบับ โดยครอบคลุม 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการทรงตัว ทักษะการเดิน ทักษะการวิ่ง และทักษะการกระโดด เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 12 ข้อ มีความดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 3) แบบสังเกตพฤติกรรมความฉลาดทางอารมณ์จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  4 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีความดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00  สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า


1. เด็กอนุบาลปีที่ 3 มีพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่หลังใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้าน สูงขึ้นตามลำดับ


2. เด็กอนุบาลปีที่ 3 มีพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์หลังใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการละเล่นพื้นบ้าน มีความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต โรงพยาบาลราชานุกูล. (2543). คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กการทดสอบและฝึกทักษะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมพลศึกษา. (2540). สมรรถภาพทางกาย. สำนักงานพัฒนาการพลศึกษา สุขภาพและนันทนาการกรมพลศึกษา.

กรมสุขภาพจิต. (2545).รายงานวิจัยพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก 3-5 ปี และ6-11 ปี. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

กิตติพงษ์ ตรุวรรณ์. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน ไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายที่จำเป็นต่อการป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้มของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)

คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เพื่อนอักษร

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ. (2544). ยิ่งกว่า EQ คู่มือพัฒนาชีวิตให้ลูกน้อย. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ขนิษฐา อุทัยจอม. (2559). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง. ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี

นครินทรวิโรฒ.

จิราภรณ์ อู่สิงห์สวัสดิ์. (2547). สรีรวิทยาของระบบกล้ามเนื้อ. พิษณุโลก: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร.