แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษายุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 331 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซีและมอร์แกน โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.976 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการระบุเหตุการณ์ความเสี่ยง (PNIModified=0.076)
แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณของสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ควรดำเนินการดังนี้ 1) วิเคราะห์การบริหารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านงบประมาณ 2) โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ระบุเหตุการณ์หรือสาเหตุของความเสี่ยง 3) การประเมินและจัดลำดับความเสี่ยงโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน 4) การจัดการตอบสนองความเสี่ยงแต่ละความเสี่ยง ถ่ายโอนความเสี่ยง วางแผนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 5) ส่งเสริมให้ครู บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณ ค้นหาความเสี่ยง และป้องกันความเสี่ยง 6) ประเมินผลการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณ อย่างน้อยปีงบประมาณละ 1 ครั้ง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการรายงานผลความเสี่ยง
Article Details
References
กาญจนา ศิริพานิช. (2562). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15(1) : 1-12.
จีรนันท์ ทองอ่วม.(2560). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. Rajapark Journal. 15(40) : 1-15.
ชุติมา พวงทอง. (2563). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธรรมนูญ วิชาหา.(2562). การบริหารความเสี่ยงด้านบริหารงบประมาณในยุค Digital disruption ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พอรุ้ง แสงนวล. (2563). การบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3) : 672-685.
วรันธร ธรรมาธิกร. (2563). การบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันคลังสมองของชาติ. (2563). การบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษา. สถาบัน คลังสมองของชาติ มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย.
สิทธิชัย สอนสุภี. (2560). ศิลปะการบริหารโครงการ. หนองคาย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะสหวิทยาการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2566). รายงานผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุดรธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาอุดรธานี.