แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

เสาวลักษณ์ รัตนะ
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย ใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.97 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็น คือ การเอื้ออำนวยความสะดวกทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับผู้เรียน 2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ 1) การจัดการทรัพยากรดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาการศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควรสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ระหว่างครูเพื่อพัฒนาวิชาชีพผ่านชุมชนการเรียนรู้ 3) การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมผ่านสังคมออนไลน์ ควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารองค์กร โดยใช้แฟลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ 4) การเอื้ออำนวยความสะดวกทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับผู้เรียน ควรสนับสนุนงบประมาณสำหรับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 5) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สำหรับการประเมินผลผู้เรียน ควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการประเมินผลและติดตามผลการเรียนของผู้เรียน 6) จริยธรรมและความปลอดภัยทางดิจิทัล ควรจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูเพื่อเป็นต้นแบบในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

Article Details

บท
Research Articles

References

กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองหนองคาย. (2565). รายงานติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาเทศบาลเมืองหนองคาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566, จาก https://www.nongkhaimunicipality.go.th/

กิตติพศ โกนสันเทียะ และคณะ. (2565). สมรรถนะดิจิทัล: สมรรถนะใหม่สำหรับครูยุคปัจจุบัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 22(2). 14-23.

กิตติพศ โกนสันเทียะ. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. วารสารราชนครินทร์. 19(1). 9-16.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2555). การวิจัยทางการศึกษา: วิจัยสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุทธนา ศรีตะบุตร. (2567). การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (สัมภาษณ์). นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย (ผู้บริหารระดับนโยบาย). 9 เมษายน 2567.

วิชัย วงษ์ใหญ่,มารุต พัฒผล. (2564). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566. จาก https://oer.learn.in.th/search_detail/result/219454

สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น. (2564). หลักสูตรการฝึกอบรมแบบออนไลน์ : หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงาน. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566, จาก www.lpdi.go.th

สุภารัตน์ วัฒนธรรม. (2566). แนวทางการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:

วี.พริ้นท์ (1991).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเรื่อง ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) สำหรับพลเมืองไทย. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566, จาก https://itm.eg.mahidol.ac.th/itm/wp-content/uploads/2020/04/MDES- ONDE-Digital-Literacy

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2566, จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้ดิจิทัลของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารครุศาสตร์, 15(2).

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Washington, DC: George Washington University.