แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 331 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีปกติใหม่ พบว่าความต้องการจำเป็นสูงสุดคือด้านการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์,ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาตนเอง,ด้านภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และด้านการทำงานเป็นทีม เรียงตามลำดับ
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี พบว่า 1) ด้านการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ ผู้บริหารควรพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศหลากหลายช่องทางและส่งเสริมให้ครูนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในชั้นเรียน 2) ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารควรปรับโครงสร้างการบริหารที่มีความยืดหยุ่นและพัฒนาระบบนิเทศภายในการกำกับติดตามผลการปฏิบัติงานของครูภายใต้วงจรคุณภาพ 3) ด้านการพัฒนาตนเอง ผู้บริหารควรพัฒนาตนเองและผู้ร่วมงาน เกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมให้นำมาใช้ในการปฏิบัติงานและบูรณาการสู่ชั้นเรียน และกำกับติดตาม ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูทำงานที่ท้าทายในสิ่งใหม่ๆ ในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาความรู้ เทคนิคหรือทักษะใหม่ๆด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ครู 5) ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูได้หมุนเวียนกันเป็นหัวหน้ากลุ่มงานในการปฏิบัติงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและสามารถปรับตัวให้ทำงานกับครู ผู้ปกครอง และชุมชน
Article Details
References
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล.(2563). New Normal ทางการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566.
จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/New% 20normal%20_1589866723.pdf.
ณิชา พิทยาพงศกร. (2563). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่ คำตอบ. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567. จาก https:// www . dri.or .th/2020/05/desirablenew-normal-for-thailand-education/
ผัลย์ศุภา คนคล่อง (2565). สมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภศิริ ยศราวาส (2565). โมเดลสมการโครงสร้างสมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอกกวีร์ พิทักษ์ธนัชกุล. (2557). การศึกษาในโลกยุคปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2567. https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-58(500)/page9-1-58(500).
Thanassis Karalis. (2020). Planning and evaluation during educational disruption: lessons learned from COVID-19 pandemic for treatment of emergencies in education. European Journal of Education Studies Volume 7 Issue 4 : 125-141.
Kennedy, P.W. and Dresser, S.G. (2005). Creating a Competency – Based Workplace,
Benefits Compensation Digest. Brookfield: Feb.