แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

Main Article Content

ระพีพัฒน์ พันธุระ
ประมุข ชูสอน
สิทธิชัย สอนสุภี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1  2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จำนวน 302 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.986 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอโดยการพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ในสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง  สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านการสร้างความไว้วางใจ (PNIModified = 0.767)  


          แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ผู้บริหารควรดำเนินการ ดังนี้ 1) ด้านการสร้างความไว้วางใจ ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรามีสติรู้เท่าทันอารมณ์ความคิดของตัวเอง  2) ด้านการอุทิศตนเพื่อส่วนรวม ควรละวางความเห็นแก่ตัว ตั้งใจทำคุณประโยชน์แก่ส่วนรวมไม่ใช่เพื่อตนเอง 3) ด้านความซื่อสัตย์ ควรบริหารงานด้วยความชัดเจนตรวจสอบได้ บริหารทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด  4) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม เปิดโอกาสให้บุคลากรสะท้อนปัญหาตามความจริง สื่อสารวิสัยทัศน์ให้นำไปสู่การปฏิบัติ  5) ด้านการสร้างความศรัทธา ควรมีความหนักแน่นไม่หวั่นไหว วางตัวเป็นกลางเข้าถึงได้ง่าย เป็นธรรมทุกฝ่าย รู้จักให้เกียรติ และปรับตัวให้เข้ากับบริบทของชุมชน

Article Details

บท
Research Articles

References

ขัันธ์์ชััย โชติิตันติิทรสกุุล, ปณิิธาน วรรณวัลย์, เกษกนก วรรณวัลย์, เพีียงแข ภููผายาง และ

เพ็ญนภา สุขเสริม. (2566). ภาวะผู้้นำทางจิตวิญญาณของผู้้บริหารสถานศึกษาในยุุค

ดิจิทัล. Dhammathas Academic Journal. Vol. 23 No. 4 (October –

December 2023)

ตวงทิพย์ ขุนโนนเขวา, ดารุวรรณ ถวิลการ และเชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2562). ภาวะผู้นำ

เชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ.

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พลวัต แสงสีงาม (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นาเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียน

ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

รังสิต.

ภัทรพร เตชทวีฤทธ, อรพินทร์ ชูชม, ครรชิต แสนอุบล. (2562). ความฉลาดทางจิตวิญญาณ

ในบริบทคนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2562)

ลิขสิทธิ์โดย สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รัชดาพร แหวนหล่อ, ธีระพงศ บุศรากูล. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิต

วิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

กรุงเทพมหานคร เขต 2.วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น ปีที่ 8

ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2565.

ลัดดา จุลวงศ์, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี.(2563). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำเชิงจิต

วิญญาณ.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์.ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม –

เมษายน 2563

วาลิกา อัครนิตย์. (2562). ภาวะผู้นำทางจิตวิญญาณ. วารสารการบริหารการศึกษาและ

ภาวะผู้นำ.ปีที่ 3 ฉบับที่ 10 (เมษายน 2566)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2566). รายงานผลการ

ดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. เข้าถึงได้จาก : สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1 (NK1) (nkedu1.go.th). 25 พฤศจิกายน

อนันต์ ฉิมยงค์, เริงวิชญ์ นิลโคตร, วัยวุฒิ บุญลอย. (2566). ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและ

อุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุค

เน็กซ์นอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว.วารสารมหา

จุฬานาครทรรศน์.ปีที่ 10 ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม 2566)

อนันต์ ฉิมยงค์, มณีรัตน์ จันทรา, สักรินทร์ นาคินทร์, จันทิมา ใจซื่อ, กาญจนศิริ ช่างจัด,

ธีรังกูร วรบำรุงกุล, เริงวิชญ์ นิลโคตร, วัยวุฒิ บุญลอย, อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง.

(2564). ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีชีวิต

ใหม่. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม

Gina Smith, Maria Minor, and Henry Brashen. (2018). SPIRITUAL LEADERSHIP: A

GUIDE TO A LEADERSHIP STYLE THAT EMBRACES MULTIPLE

PERSPECTIVES. Journal of Instructional Research Volume 7

(December 2022), Page 857- 87

Jihye Oh & Jia Wang. (2020). Spiritual leadership: Current status and Agenda

for future research and practice. Article in Journal of Management

Spirituality & Religion February 2020

Jing Li, Soon-Yew Ju, Lai-Kuan Kong, and Nana Jiang. (2023). A Study on the

Mechanism of Spiritual Leadership on Burnout of Elementary and

Secondary School Teachers: The Mediating Role of Career Calling and

Emotional Intelligence. Sustainability 2023, 15, 9343.

https://doi.org/10.3390/su15129343

Ragip TERZI, Ahmet GOCEN, and Ahmet KAYA. (2020). Spiritual Leaders for

Building Trust in the School Context. Eurasian Journal of Educational

Research 86 (2020) 135-156.

Siriwong Earsakul. (2019). THE RELATIONSHIP BETWEEN SPIRITUAL LEADERSHIP

AND FIRM VALUE: THE MODERATING EFFECT OF ORGANIZATIONAL CLIMATES. S. Humanities, Arts and Social Sciences Studies Vol. 20(1): 296-318, 2020