แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ระพีพัฒน์ พันธุระ
ประมุข ชูสอน
สิทธิชัย สอนสุภี

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1  2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จำนวน 302 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.986 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอโดยการพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ในสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง  สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านการสร้างความไว้วางใจ (PNIModified = 0.767)  


          แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ผู้บริหารควรดำเนินการ ดังนี้ 1) ด้านการสร้างความไว้วางใจ ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรามีสติรู้เท่าทันอารมณ์ความคิดของตัวเอง  2) ด้านการอุทิศตนเพื่อส่วนรวม ควรละวางความเห็นแก่ตัว ตั้งใจทำคุณประโยชน์แก่ส่วนรวมไม่ใช่เพื่อตนเอง 3) ด้านความซื่อสัตย์ ควรบริหารงานด้วยความชัดเจนตรวจสอบได้ บริหารทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด  4) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม เปิดโอกาสให้บุคลากรสะท้อนปัญหาตามความจริง สื่อสารวิสัยทัศน์ให้นำไปสู่การปฏิบัติ  5) ด้านการสร้างความศรัทธา ควรมีความหนักแน่นไม่หวั่นไหว วางตัวเป็นกลางเข้าถึงได้ง่าย เป็นธรรมทุกฝ่าย รู้จักให้เกียรติ และปรับตัวให้เข้ากับบริบทของชุมชน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

ขัันธ์์ชััย โชติิตันติิทรสกุุล, ปณิิธาน วรรณวัลย์, เกษกนก วรรณวัลย์, เพีียงแข ภููผายาง และ

เพ็ญนภา สุขเสริม. (2566). ภาวะผู้้นำทางจิตวิญญาณของผู้้บริหารสถานศึกษาในยุุค

ดิจิทัล. Dhammathas Academic Journal. Vol. 23 No. 4 (October –

December 2023)

ตวงทิพย์ ขุนโนนเขวา, ดารุวรรณ ถวิลการ และเชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2562). ภาวะผู้นำ

เชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ.

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พลวัต แสงสีงาม (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นาเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียน

ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

รังสิต.

ภัทรพร เตชทวีฤทธ, อรพินทร์ ชูชม, ครรชิต แสนอุบล. (2562). ความฉลาดทางจิตวิญญาณ

ในบริบทคนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2562)

ลิขสิทธิ์โดย สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รัชดาพร แหวนหล่อ, ธีระพงศ บุศรากูล. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิต

วิญญาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

กรุงเทพมหานคร เขต 2.วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น ปีที่ 8

ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2565.

ลัดดา จุลวงศ์, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี.(2563). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำเชิงจิต

วิญญาณ.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์.ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม –

เมษายน 2563

วาลิกา อัครนิตย์. (2562). ภาวะผู้นำทางจิตวิญญาณ. วารสารการบริหารการศึกษาและ

ภาวะผู้นำ.ปีที่ 3 ฉบับที่ 10 (เมษายน 2566)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2566). รายงานผลการ

ดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. เข้าถึงได้จาก : สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1 (NK1) (nkedu1.go.th). 25 พฤศจิกายน

อนันต์ ฉิมยงค์, เริงวิชญ์ นิลโคตร, วัยวุฒิ บุญลอย. (2566). ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและ

อุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุค

เน็กซ์นอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว.วารสารมหา

จุฬานาครทรรศน์.ปีที่ 10 ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม 2566)

อนันต์ ฉิมยงค์, มณีรัตน์ จันทรา, สักรินทร์ นาคินทร์, จันทิมา ใจซื่อ, กาญจนศิริ ช่างจัด,

ธีรังกูร วรบำรุงกุล, เริงวิชญ์ นิลโคตร, วัยวุฒิ บุญลอย, อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง.

(2564). ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีชีวิต

ใหม่. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม

Gina Smith, Maria Minor, and Henry Brashen. (2018). SPIRITUAL LEADERSHIP: A

GUIDE TO A LEADERSHIP STYLE THAT EMBRACES MULTIPLE

PERSPECTIVES. Journal of Instructional Research Volume 7

(December 2022), Page 857- 87

Jihye Oh & Jia Wang. (2020). Spiritual leadership: Current status and Agenda

for future research and practice. Article in Journal of Management

Spirituality & Religion February 2020

Jing Li, Soon-Yew Ju, Lai-Kuan Kong, and Nana Jiang. (2023). A Study on the

Mechanism of Spiritual Leadership on Burnout of Elementary and

Secondary School Teachers: The Mediating Role of Career Calling and

Emotional Intelligence. Sustainability 2023, 15, 9343.

https://doi.org/10.3390/su15129343

Ragip TERZI, Ahmet GOCEN, and Ahmet KAYA. (2020). Spiritual Leaders for

Building Trust in the School Context. Eurasian Journal of Educational

Research 86 (2020) 135-156.

Siriwong Earsakul. (2019). THE RELATIONSHIP BETWEEN SPIRITUAL LEADERSHIP

AND FIRM VALUE: THE MODERATING EFFECT OF ORGANIZATIONAL CLIMATES. S. Humanities, Arts and Social Sciences Studies Vol. 20(1): 296-318, 2020