สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 2) ศึกษาระดับองค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ3) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 302 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม IBM SPSS Statistics เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีระดับค่าเฉลี่ยอยูในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความฉลาดทางดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างทีมงานคุณภาพ องค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความเป็นมืออาชีพของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมน่าอยู่และด้านครูมีความสุข สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านความฉลาดทางดิจิทัล การสร้างทีมงานคุณภาพ การบริหารจัดการตนเอง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีค่าสัมประสิทธิ์อำนาจพยากรณ์องค์กรแห่งความสุข ร้อยละ 75.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายและจุดเน้นของ
กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 .สืบค้น 27 สิงหาคม 2566. จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/
กิตติภูมิ เรืองแสง และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2566). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค
ดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.
วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 60-71.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2555) “แนวคิดการสร้างองค์กรแห่งความสุข”. เอกสารการบรรยาย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 14.
จิราพร จันทร์นิ่ม. (2566). ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาครูในยุคโรคเปลี่ยนแปลง.
วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 19(1), 93-106.
ทินกร เผ่ากันทะ และกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุค
ดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(2),
-45.
พิมพ์ทอง พัฒนาประพันธ์ และสุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2566). การบริหารจัดการสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. การประชุมวิชาการและนิเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 942-949.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2564). คุณภาพมาตรฐานและมืออาชีพ. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566. จากhttps://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1039593.
สุทธิศักดิ์ อ่อนตะวัน. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขของครู
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2566). แผนปฏิบัติการ
ประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย
เขต 1. สืบค้น 5 ตุลาคม 2566. จาก
http://www.nkedu1.go.th/NEW2563/?id=9&ch=28&fi=86&ch3=EDITTOR.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสํานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สืบค้น14 ตุลาคม 2566, จาก
http://new.obec.go.th/wp-content/ uploads/2018/09/obec61.pd
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579.
กรุงเทพฯ พริกหวานกราฟฟิก.