กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บึงกาฬ 2) นำเสนอกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 284 คน โดยมีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บึงกาฬ พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.09 อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.43 อยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา บึงกาฬ ด้านที่มีความจำเป็นสูงสุดไปต่ำสุด คือ การสร้างบรรยากาศดิจิทัล (PNI Modified =0.120) การพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัล (PNI Modified =0.079) การกำหนดวิสัยทัศน์ดิจิทัล (PNI Modified =0.071) และความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล (PNI Modified =0.065)
2) กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์คือ กลยุทธ์ที่ 1 สร้างคุณภาพนักเรียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มี 3 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 13 ผลลัพธ์ กลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์สร้างระบบการบริหารจัดการองค์กรที่สร้างสรรค์ ทันสมัยอย่างมีส่วนร่วม มี 3 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 12 ผลลัพธ์ กลยุทธ์ที่ 3 กลยุทธ์สร้างระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มี 3 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 11 ผลลัพธ์ กลยุทธ์ที่ 4 กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือบูรณาการการเรียนรู้ด้วยพันธมิตร มี 2 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 7 ผลลัพธ์
Article Details
References
นภดล ร่มโพธิ์ (2562). พัฒนาองค์กรและชีวิตด้วยแนวคิด OKRs. มังกี้บุ๊กส์ กรุงเทพมหานคร
นันทิยา น้อยจันทร์ (2565) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา ปีที่ 8 ฉบับที่1
ณพิชญา กิจจสัจจา. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม
ศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปุณณิฐฐา มาเชค. (2565). การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. ภาควิชาการบริหาร
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิสุทธิ์ ศรีจันทร์ (2565) การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการรู้
ดิจิทัลของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วารสารวิทยสารสนเทศ
และเทคโนโลยี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2565)
รุ่งทิวา ลือสัตย์ (2565) กลยุทธ์การบริหารสู่การเป็นโรงเรียนดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการ
จัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16, 1: 353-360.
Wilkins S. (2010). Higher education in the United Arab Emirates: An analysis of the
outcomes of significant increases in supply and competition. Journal of
Higher Education Policy and Management, 32, 389-400.