คุณภาพบริการร้านค้าปลีกและความสะดวกในการเข้าถึงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในเขตอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

มูห่ำหมัด ปูตีล่า
ชุติมา หวังเบ็ญหมัด
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของคุณภาพบริการร้านค้าปลีก และความสะดวกในการเข้าถึงในการตัดสินใจซื้อซ้ำในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม 2) เพื่อศึกษาคุณภาพบริการร้านค้าปลีก และความสะดวกในการเข้าถึงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อซ้ำจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในเขตอําเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส รวมจำนวน 400 ราย ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้


          คุณภาพบริการร้านค้าปลีก ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการแก้ปัญหา และด้านนโยบายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าด้านความสะดวกในการเข้าถึงและการตัดสินใจซื้อซ้ำในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณภาพบริการร้านค้าปลีก จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการแก้ปัญหา และด้านนโยบาย และความสะดวกในการเข้าถึงส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม

Article Details

บท
Research Articles

References

กัญขจี มี้เจริญ. (2558, เมษายน-มิถุนายน). อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อความผูกพัน แบรนด์ในร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 37, 114-131.

ธนัตถ์สัณห์ พงษ์วร. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาร้านค้าปลีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตาม แนวตะเข็บการค้าชายแดนประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 9(2) พิเศษ, 146-156.

มณีวรรณ บรรลุศิลป์ และปรางทิพย์ เสยกระโทก. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม (ร้านโชห่วย). Neu Academic and Research Journal, 8(2), 1-15.

ลาวัณย์ พงษ์สุวรรณศิริ และ อุษณีย์ พรหมศรียา. (2563).รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน กรณีศึกษาเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัด นราธิวาส: เมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย,หาสารคาม. 40 (2), 65-79

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า (2566). การศึกษายุทธศาสตร์ค้าปลีกในท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2566 จาก https://utcc2.utcc.ac.th/ tradestrategies/ Research_retail.htm

สโรชินี โสภณพัฒนบัณฑิต และรุจิรัตน์ พัฒนถาบุตร. (2565). แนวทางการตลาดของร้านค้าปลีกเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานปัญญาภัณฑ์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. Neu Academic and Research Journal, 12(1), 85-100.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons

Curran & Finch (1996). The Robustness of Test Statistics to Nonnormality and

Specification Error in Confirmatory Factor Analysis. Psychological

Methods. 1(1), 16 – 29.

Dabholkar, P.A., Thorpe, D.I. & Rentz, J.O. (1996). A Measure of Service Quality

for Retail Stores: Scale Development and Validation. Journal of the Academy of Marketing Science. 24, 3–16.

Hair, J., Blak, W.C., Barbin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Upper Sandle River, Prentice Hall.

Larsen, N. M., Sigurdsson, V., Breivik, J., Orquin, J. L. (2020). The Heterogeneity of Shoppers’ Supermarket Behaviors Based on the Use of Carrying Equipment. Journal of Business Research, 108, 390-400.

Sivapalan, A., Shankar, A., Das M., & Konalingam, K. (2022). How to Enhance Customer Loyalty to Retail Stores via Retail Service Quality Practices? A Moderated Mediated Mechanism. Services Marketing Quarterly, 43 (4), 445- 465