กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรปฐมวัยในพื้นที่พหุวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ

Main Article Content

ชนิกานต์ วงษ์กิจ
ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2) สร้างและตรวจสอบกลยุทธ์ และ 3) ทดลองใช้และถอดบทเรียนกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรปฐมวัยในพื้นที่พหุวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ วิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอน 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูปฐมวัย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง จำนวน 17 คน ขั้นตอน 2 การสร้างและตรวจสอบ
กลยุทธ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามตรวจสอบความเหมาะสม ขั้นตอน 3 การทดลองใช้และถอดบทเรียนกลยุทธ์ การทดลองใช้ตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) และการถอดบทเรียนความสำเร็จ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัยใช้คู่มือการใช้กลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบการสะท้อนคิด แบบการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (AAR) ประเด็นการสนทนากลุ่ม
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า 1) จุดแข็ง คือ โรงเรียนเป็นฐานของการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมงานอาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัย 2) โอกาส คือ ชุมชนมีต้นทุนทางพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสนุนการจัดการศึกษา 3) แรงบันดาลใจ
คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู มีศรัทธาในวิชาชีพ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อดึงเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาเด็กปฐมวัย มุ่งพัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และ 4) ผลลัพธ์ คือ สะท้อนการมีส่วนร่วมของชุมชน ปลูกฝังวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน
และวัฒนธรรมชนเผ่า 2. ผลการสร้างและตรวจสอบกลยุทธ์ พบว่า 1) ผลการสร้างกลยุทธ์ ประกอบไปด้วย กลยุทธ์การพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
กลยุทธ์การจัดการศึกษาปฐมวัยบนวิถีพหุวัฒนธรรม และกลยุทธ์การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนบนวิถีพหุวัฒนธรรม และ 2) ผลการตรวจสอบกลยุทธ์ พบว่า กลยุทธ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้และการถอดบทเรียนกลยุทธ์ ทดลองใช้โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 1) การวางแผน
2) การปฏิบัติ 3) การสังเกตการณ์ 4) การสะท้อนผล ผลการถอดบทเรียน พบว่า การบริหารเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม หลักสูตรปฐมวัยพหุวัฒนธรรมได้รับการพัฒนาสามารถนำมาใช้ได้จริง ชุมชนได้รับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ
ที่ตรงกันบนพื้นที่พหุวัฒนธรรม

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สำนักการพิมพ์.สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ.(2566). แผนพัฒนาการจัดการศึกษา พ.ศ. 2566-2570.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

นายกิตติชัย การโสภา. (2563). แนวคิดการพัฒนากลยุทธ์. Booklet of Academic 2020. โรงเรียนยางหล่อวิทยาคาร,สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). SOAR Analysis ตัววิเคราะห์จุดแข็งและเป้าหมายขององค์กร. กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2566, จาก https://www.popticles.com/business/what-is-soar-analysis/

โชติกา เหมืองอุ่น. (2563).แนวคิดการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย.(การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา),มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม. ทีคิวพี จำกัด

พูนศักดิ์ กมล. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. คณะพุทธศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Riehl, C. (2000). The Principal’s Role in Creating Inclusive Schools for Diverse Students: A Review of Normative, Empirical, and Critical Literature on the Practice of Educational Administration. Review of Educational Research.