การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแห่งหนึ่ง

Main Article Content

อรวี อินทร์แป้น
ระพิน ชูชื่น
ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแห่งหนึ่ง 2) หาประสิทธิภาพจากการใช้รูปแบบการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแห่งหนึ่ง 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแห่งหนึ่ง รูปแบบที่ใช้ในการพัฒนา คือ R2D2 Model มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (Research) การวิเคราะห์ ข้อมูล (Analysis) ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายผลิตจำนวน 5 คน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 2 คน และพนักงานผู้มีประสบการณ์ทำงาน 5 ปี ขึ้นไปในสายการผลิตกระจกจำนวน 3 คน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 10 คน  กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มในขั้นตอนออกแบบและพัฒนา (Design and Development) นำรูปแบบการฝึกอบรมก่อนปฏิบัติงานฯไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองขนาดเล็ก (Small Group Testing) กับพนักงานฝ่ายผลิต 3 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีอายุงาน 0-1 ปี กลุ่มที่ 3


เป็นกลุ่มทดลองซึ่งเป็นกลุ่มนำร่องกับพนักงานฝ่ายผลิตจำนวน 10 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีอายุงาน 0-1 ปี โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง


กลุ่มที่ 4  เป็นกลุ่มทดลองซึ่งเป็นกลุ่มนำร่องภาคสนาม (Try-out) กับพนักงานฝ่ายผลิตจำนวน 30 คน  ซึ่งเป็นพนักงานที่มีอายุงาน 0-1 ปี กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มตัวอย่างจริง ซึ่งเป็นพนักงานใหม่ฝ่ายผลิต จำนวน 30 คน เป็นวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแห่งหนึ่ง พบว่า รูปแบบการฝึกอบรมควรมี 6 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการทักษะ (Skill) ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ในกระบวนการผลิตและความปลอดภัยในการทำงาน  ส่วนที่ 2 จุดมุ่งหมายพนักงานฝ่ายผลิตมีทักษะ (Skill)  ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ในกระบวนการผลิตและความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนที่ 3 เนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตกระจกพื้นฐาน คำศัพย์ที่ใช้ในการทำงาน นิกเกิลซัลไฟด์ และ ความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนที่ 4 วิธีการฝีกอบรม การบรรยายประกอบการซักถาม การสาธิต การฝึกปฏิบัติในการจำลองสถานณ์การ ส่วนที่ 5 การดำเนินการจัดการฝึกอบรม


ก่อนการฝึกอบรม ระหว่างการฝึกอบรม และหลังการฝึกอบรม ส่วนที่ 6 การวัดผลประเมินผล วัดผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม วัดความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม และ ติดตามจากแบบสังเกตพฤติกรรม 2) การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการฝึกอบรมก่อนการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแห่งหนึ่ง โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลสัมฤทธิ์ในการทำทดสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ 1 3) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรก่อนการเริ่มปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต พบว่า ความพึงพอใจต่อสื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.85, SD = 0.43)  รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อสถานที่ (ค่าเฉลี่ย = 4.80, SD = 0.46) และ ความพึงพอใจต่อแบบทดสอบ (ค่าเฉลี่ย = 4.65, SD = 0.58) โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เป็นไปตามสมมุติฐานที่ 2 จากการประเมินจึงสรุปได้ว่า รูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมพนักงานใหม่ฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแห่งหนึ่งก่อนการเริ่มปฏิบัติงานเป็นการเพิ่มทักษะ (Skill) ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ในกระบวนการผลิตและความปลอดภัยในการทำงานก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน

Article Details

บท
Research Articles

References

Nadler L. and Nadler Z. (1980). Cooperate Human Resources Development. New York: Van Nostrand Rcinhold.

กีรติกร บุญส่ง; และหทัยกานต์ กุลวชิราวรรณ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานปฏิบัติการระดับ 4 กลุ่มวิชาชีพหลัก กลุ่มวิชาชีพสนับสนุนในการขับเคลื่อนองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO). วารสารปัญญาภิวัฒน์,10(3),125-137.

ณรงค์ชัย กาพย์ตุ้ม (2561) โปรแกรมดูแลพนักงานใหม่ : กรณีศึกษาบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่ง.

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ทรงธรรม ดีวาณิชสกุล และนภดล กลิ่นทอง.(2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานในขณะ

ปฏิบัติงาน (On the job training) สำหรับหัวหน้างานสายการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม19 (3), 111-118.

นาวิน สัมมา, ฉัตรชาญ ทองจับ และคมสันต์ ชไนศวรรย์. (2560). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมการทำงานเชื่อมใต้ฟลักซ์ตามฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการอุุตสาหกรรมศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรสิโรฒ

พิมพ์ชนก คำชัย (2563) การพัฒนาระบบการฝึกอบรมแบบปรับเหมาะเพื่อพัฒนาทักษะ

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากรในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณสิริ ธุระแพง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบสังคมออนไลน์สำหรับธุรกิจเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคลังสินค้าและพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ของพนักงานในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร. วารสารวิชาการสิรินธรปริทรรศน์ ,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย,24 (2)

-13.

วิภา ตัณฑุลพงษ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสอนเขียนเชิง

สร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงานการเขียน สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุทธิปริทัศน์ 31, มหาวิทยาลัยทักษิณ, 99, 54-66.

สุวัจน์ ไทยพงษ์ธนาพร (2563) ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างรูปแบบการพัฒนาหัวหน้างานรุ่นใหม่ใน

กรณีศึกษกลุ่มโรงงานผู้ผลิตกระจกชั้นนำของประเทศไทย. งานนิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย.