กลยุทธ์ธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแฟรนไชส์ซี ธุรกิจเครื่องดื่มในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

อัญญารัช บัวชู
ยรรยง คชรัตน์
ชุติมา หวังเบ็ญหมัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับการดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์เครื่องดื่ม 2) ศึกษาความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีธุรกิจเครื่องดื่มใน 4 มุมมอง (BSC) 3) ศึกษากลยุทธ์ธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีธุรกิจเครื่องดื่ม การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ซีธุรกิจเครื่องดื่ม ที่เปิดกิจการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ในเขตอำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมืองสงขลา จำนวน 209 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติถดถอยพหุคูณ ผลการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิเคราะห์ระดับการดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ทั้งภาพรวมและรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากด้านการสร้างแบรนด์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2)  วิเคราะห์ความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีธุรกิจเครื่องดื่มใน 4 มุมมอง (BSC) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการเงิน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  3) กลยุทธ์ธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ด้านการสร้างแบรนด์ และด้านนวัตกรรม ส่งผลต่อความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีธุรกิจเครื่องดื่มทั้ง 4 มุมมอง (BSC)

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแนะ“ซุ้มร้านค้า”แฟรนไชส์ขนาดเล็กเหมาะลงทุนหลังโควิด. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://work pointtoday.com/bu-small-franchise/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรัชช์อร สิรวิชญ์ชัยเดช. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแฟรนไชส์สัญชาติไทยของ ผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์รีไซเคิลขยะ: กรณีศึกษาบริษัท ปราบขยะรีไซเคิล จำกัด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(6), 2272 – 2287.

บุพผา ฐานุตตมานนท์,ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์และสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์. (2566). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจ แฟรนส์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในยุควิถีใหม่.วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 18(2), 119-132

บริษัท บิสิเนสโค้ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด. (2561). Franchise Cloning Business แฟรนไชส์ ยุทธการโคลนนิ่งธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://www.skilllane.com/courses/Franchise-Cloning-Business.

มนตรี ศรีวงษ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 15(36), 63 – 71.

รัตนา สิทธิอ่วม, วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม, วราวุธ ฤกษ์วรารักษ์ และอนุชา กอนพ่วง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย: การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ. วารสารการจัดการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 7(2), 146-159.

เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์. (2562). งานเสวนา "ทางรอดธุรกิจแฟรนไชส์ในยุค COVID-19". สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://th.linkedin.com/pulse/งานเสวนา-ทางรอดธรกจแฟรนไชส์ในยุค-covid-19-phadungpisuth-cfe?trk=public_ profile_article_view

ศุภสิริ สร้อยทองพงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 6(1), 23 – 32.

สมจิตร ลิขิต สถาพร. (2563). ส่องทิศทางธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2563 หลังวิกฤตแรงงานตกงานเพิ่มมากขึ้น. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://mgronline.com/smes /detail/9620000123981.

สุธีรา อะทะวงษา. (2564). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และลักษณะของสถานประกอบการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม2566, จากhttp://statbbi.nso.go.th/ staticreport/page /sector/th /01.aspx

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of management, 17(1), 99-120.

Hair, J. F., Jr., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Strategic learning & the balanced scorecard. Strategy & Leadership, 24(5), 18-24.

Marks, M. R. (1966, September). Two kinds of regression weights that are better than betas in crossed samples. Paper presented at the meeting of the American Psychological Association.