การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

มัทนพร บุญมาก
ประภาศ ปานเจี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ศึกษา  อยู่ในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนควนพระสาครินทร์  โรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้งหมด 325 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนที่ใช้จัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นข้อสอบการประเมินการอ่านออกเสียงภาษาจีนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยเป็นชุดข้อสอบเดียวกัน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test dependent


 ผลการศึกษาพบว่า


  1. ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

  2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.70, SD = 0.48)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉวีวรรณ วัฒนานุกิจ. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

ซิลมีย์ มนูญดาหวี. (2566). การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ (Phonics) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

ณัฐนันท์ นิเวศน์วรการ. (2560). การใช้การสอนแบบโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกเสียงความรู้คำศัพท์ และการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ทวิงเคล. (2564). ความสำคัญและเทคนิคการสอน Phonics (โฟนิกส์)?. ค้นเมื่อ วันที่18 ธันวาคม 2566, จาก: https://www.twinkl.co.th/teaching-wiki/phonics-foni-ks

นันทิวัน อินหาดกรวด, และ เทพกาญจนา เทพแก้ว. (2565). พัฒนาทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาจีนพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย 4-6 โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย. กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

น้ำทิพย์ ขจรบุญ. (2553). การใช้วิธีสอนโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการออกเสียงและความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เสียวหลิน หยาง. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกมคำศัพท์ประกอบแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, กรุงเทพฯ.

หวัง เทียนซง. (2561). วิจัยเกี่ยวกับการสอนการออกเสียงภาษาจีนสาหรับนักเรียนชาวไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

อัยวัฒน์ ม่วงเสาร์. (2561). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ประกอบแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาสารคาม: วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรแลการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.